Page 65 - kpiebook65021
P. 65
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
4.3 ตัวแบบกำรเสริมสร้ำงสิทธิและกำรมีส่วนร่วมพัฒนำนโยบำยสำธำรณะจำกภำคประชำชน
ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นไปตามกรอบแนวคิดของการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย กระบวนการสร้าง
ความเข้าใจ กระบวนการรวบรวมความต้องการ และกระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทาง ดังต่อไปนี้
กระบวนการสร้างความเข้าใจ: กระบวนการสร้างความเข้าใจเป็นการออกแบบที่คณะผู้วิจัยเป็นหน่วย
ประสานเข้าพบภาคส่วนที่เป็นภาคราชการ ภาคประชาชน และองค์กรวิชาการในจังหวัดจันทบุรีเพื่อท าความ
เข้าใจและปรึกษาหารือร่วมกันถึงเป้าหมายเชิงเนื้อหาและกระบวนการของการวิจัยเพื่อส่งเสริมสิทธิและการมี
ส่วนร่วมของประชาชน โดยภาครัฐในกระบวนการนี้ ได้แก่ ส านักงานจังหวัดจันทบุรี และองค์การบริหารส่วน
จังหวัดจันทบุรี ส าหรับองค์กรวิชาการ ได้แก่ เครือข่ายนักวิชาการในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ส่วนภาคประชาชน
ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในจังหวัด
กระบวนการรวบรวมความต้องการ: กระบวนการรวบรวมความต้องการ องค์กรวิชาการอย่างสถาบัน
พระปกเกล้าได้ออกแบบเครื่องมือรวบรวมความต้องการของภาคประชาชนด้วยแบบสัมภาษณ์ (ตามประเด็น
ค าถามในบทที่ 3 และภาคผนวก 1) โดยองค์กรวิชาการในพื้นที่ท าหน้าที่ชี้แจงและรวบรวมความต้องการ
ส าหรับภาครัฐในกระบวนการนี้ ได้แก่ ส านักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ส่วนภาคประชาชน ได้แก่ แกนน าผู้ท า
หน้าที่รวบรวมข้อมูล
กระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทาง: เป็นกระบวนการที่องค์กรวิชาการอย่างสถาบันพระปกเกล้า
ออกแบบให้มีการน าผลจากการรวบรวมความต้องการมาน าเสนอและพัฒนาเป็นข้อเสนอทิศทางการพัฒนา
จังหวัดจันทบุรีร่วมกัน โดยมีตัวแทนส่วนราชการ องค์กรวิชาการ และภาคประชาชนเข้าร่วมกระบวนการ
ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยหลายกิจกรรม ได้แก่ การน าเสนอผลการสัมภาษณ์และการเรียนรู้ การก าหนด
อนาคตที่อยากจะเห็นของจังหวัดจันทบุรี การก าหนดแนวทางไปถึงซึ่งอนาคตที่อยากเห็น การจัดท าแผนปฏิบัติ
การแบบมีส่วนร่วมในเรื่องที่ประชาชนท าเองได้ทันที และประเมินผลและถอดบทเรียนจากการท ากิจกรรม
40