Page 62 - kpiebook65021
P. 62
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
4.2 ประเด็นปัญหำและควำมต้องกำรในกำรแก้ไขปัญหำในระดับภำพรวมของจังหวัดจันทบุรี
แม้ว่า จังหวัดจันทบุรีจะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ อัญมณีที่เลื่องชื่อ ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยว
ส าคัญที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวในแต่ละปี หากแต่ในพื้นที่จังหวัดจันทุบรียังคงประสบปัญหาในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและแผนพัฒนาอ าเภอ (พ.ศ. 2561 - 2565) ได้สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
เชิงพื้นที่ โดยอ าเภอได้น ากรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด (Top down) มาเป็นกรอบการพัฒนาใน
ระดับอ าเภอ และประมวลปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ (Bottom-up) ผ่านการประสาน
ข้อมูลจากแผนพัฒนาหมู่บ้าน แผนชุมชน หรือแผนชุมชนระดับต าบล รวมทั้งแผนงาน/โครงการจากภาคส่วน
ต่าง ๆ โดยได้สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการในการแก้ไขปัญหาในระดับภาพรวมของจังหวัดจันทบุรี
ประกอบด้วย 4 ประเด็น (แผนพัฒนาจังหวัด, 2564) ได้แก่
4.2.1 ปัญหำด้ำนกำรเกษตร
1) ปัญหาล าไย ด้านการผลิต ขาดแหล่งน้ าท าให้คุณภาพการผลิตไม่สม่ าเสมอ (ผลิตอ าเภอโป่งน้ าร้อน
และอ าเภอสอยดาว) ด้านการตลาด การซื้อขายล าไยล่วงหน้า (ขายใบ) โดยมัดจ า ร้อยละ 30 - 40 มีสัญญา
การซื้อขายที่ไม่เป็นธรรม ไม่ระบุแยกเบอร์ ทุกเบอร์ราคาเดียว ผูกขาดการขายไม่สามารถขายคนอื่น และ
ด้านราคา มีการส่งออกล าไยร่วงไปขายแข่งกับล าไยเบอร์ 3 - 4 ท าให้ตัดราคาปลายทาง และการขายแบบ
คัดเกรด แต่เกษตรกรไม่สามารถคัดแยกเกรดล าไยได้เอง ผู้ประกอบการ (ล้ง) ที่มาเก็บเป็นผู้คัดแยก
2) ปัญหาภัยแล้ง จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 3.96 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 2.285 ล้านไร่
(คิดเป็นร้อยละ 58 ของพื้นที่ทั้งหมด) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยเฉพาะสวนผลไม้ ซึ่งมีความ
ต้องการใช้น้ ามาก
3) แหล่งกักเก็บน้ าไม่เพียงพอ แหล่งเก็บกักน้ า มีอ่างเก็บน้ าขนาดกลาง รวม 6 แห่ง (อ่างเก็บน้ าคลอง
พระพุทธ อ่างเก็บน้ าคลองศาลทราย อ่างเก็บน้ าคลองประแกด เขื่อนพลวง เขื่อนคีรีธาร อ่างเก็บน้ าคลองบอน)
ความจุกักเก็บรวมประมาณ 325 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ชลประทาน 198,275 ไร่ ในแต่ละปีมีปริมาณน้ ากัก
เก็บไม่เพียงพอต่อความต้องการ ท าให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ าอุปโภคบริโภค รวมทั้ง พื้นที่การเกษตรได้รับ
ความเสียหายในช่วงฤดูแล้ง จังหวัดจันทบุรีมีการขาดแคลนน้ าอย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคต
4) ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงฤดูกาลผลไม้ เดือนเมษายน - มิถุนายน
เนื่องจากผลผลิตออกพร้อมกันในปริมาณมาก
5) ปัญหาคุณภาพผลผลิต เช่น ทุเรียน ตัดอ่อน เปอร์เซ็นต์แป้งต่ า น้ าหนักและขนาดเกินมาตรฐาน
การส่งออก (จัมโบ้และจรเข้) มังคุด ผลด า (ตกไซส์) จากการผลิตกระจุกตัวเฉลี่ย 4 - 7 วัน ใน 1 รอบการผลิต
เนื้อแก้วยางไหล (ด้อยคุณภาพ) แรงงานในการเก็บเกี่ยวไม่เพียงพอเพราะต้องใช้แรงงานจานวนมาก เร่งเก็บ
เกี่ยวก่อนการผลิตจะเปลี่ยนเป็นสีด า (ตกไซส์) เงาะ ราคาตกต่ า เนื่องจากผลผลิตกระจุกตัวเฉลี่ย 3 - 5 วัน ใน
1 รอบการผลิต พ่อค้ารถเร่ รับซื้อผลผลิตเงาะคุณภาพผสมเงาะตกเกรดและไปกดราคาปลายทาง แรงงานใน
การเก็บเกี่ยวไม่เพียงพอ เพราะต้องใช้แรงงานจ านวนมาก ลองกอง บริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ไม่สามารถ
ส่งออกได้ ผลผลิตราคาตกต่ าในช่วงกระจุกตัว ลองกองเกรดต่ า (กระซ้ า ลูกบัว ลูกร่วง) ไม่มีราคาในช่วงผลผลิต
กระจุกตัว
6) สัญญาซื้อขายผลผลิตไม่เป็นธรรมระหว่างล้งกับเกษตรกร
37