Page 40 - kpiebook65021
P. 40
โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน: กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี
สมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.50) การมีส่วนร่วมของพลเมืองยังกระตุ้นให้ระบบราชการได้มีทักษะทาง
การเมืองในแบบที่เกี่ยวพันกับประชาชน (Karkin, 2011, pp.16-17)
3) เป็นการส่งเสริมธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบ
มีส่วนร่วมจะช่วยท าให้ภาครัฐสามารถเลือกแนวทางที่เหมาะสมว่า ควรจะท าอะไรจึงจะสามารถตอบสนอง
ความต้องการของชุมชน เนื่องจากการมีส่วนร่วมของพลเมืองเปรียบเสมือนการขับเคลื่อนบนเส้นทาง
ประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น (Devas & Grant, 2003 อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล,
ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.50) และยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งด้านส านึก
รับผิดชอบ และความโปร่งใสในการท างาน ทั้งในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและในส่วนของพลเมือง
เมื่อพลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนพัฒนานโยบายจะเกิดการค านึงถึงผลลัพธ์ของความส าเร็จซึ่งน าไปสู่
การควบคุมในแต่ละขั้นตอนของนโยบาย ท าให้การพัฒนานนโยบายและการน านโยบายไปปฏิบัติมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น (Karkin, 2011, pp.16-17)
4) เป็นการส่งเสริมความเป็นเจ้าของ เนื่องจากการเริ่มต้นกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบ
มีส่วนร่วมในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนจนถึงการน านโยบายไปปฏิบัติ ได้สร้างความรู้สึกร่วมในความเป็นเจ้าของ
อีกทั้ง ยังเป็นการสนับสนุนการน านโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม (Rietbergen-McCracken, 2017
อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.50)
5) เป็นการเสริมสร้างศักยภาพของพลเมืองที่ถูกมองข้าม (exclusive) ให้มีความเป็นพลเมือง โดย
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (inclusive) ให้พลเมืองสามารถแสดงออกในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นการเสริมพลังอ านาจ
ให้แก่พลเมืองสามารถใช้สิทธิการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง (Rietbergen-McCracken, 2017, p.5 อ้างถึงใน
ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.50) ผลของการให้พลเมืองเข้าร่วมในการ
พัฒนานโยบายสาธารณะ อันเป็นรูปแบบหนึ่งของการมีส่วนร่วมทางตรง ท าให้เกิดการศึกษาแก่พลเมือง
เพราะพลเมืองแทบไม่มีโอกาสในการกระบวนการพัฒนานโยบาย การให้พลเมืองเข้ามีส่วนร่วมจะท าให้เขาได้
เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนทางระบบราชการ (Karkin, 2011, pp.16-17)
6) เป็นการกระจายอ านาจความเป็นประชาธิปไตยลงไปถึงระดับชุมชน ทั้งนี้ Manor (2002 อ้างถึงใน
ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และสมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.50-51) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการกระจาย
อ านาจ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) การกระจายอ านาจด้านการบริหาร (administrative
decentralization) 2) การกระจายอ านาจด้านงบประมาณ (fiscal decentralization) และ 3) การกระจาย
อ านาจด้านความเป็นประชาธิปไตย (democratic decentralization) ทั้งนี้ กระบวนการพัฒนานโยบาย
สาธารณะแบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่มีการกระจายอ านาจด้านความเป็นประชาธิปไตยไปถึงระดับ
ชุมชนและระดับพลเมือง ให้สามารถใช้อ านาจ (power) เข้ามามีอิทธิพลต่อกระบวนการทางนโยบาย
ในทุกขั้นตอนของวงจรนโยบาย ดังนั้น การที่พลเมืองสามารถแสดงออกถึงอ านาจของตนเองนับเป็นพื้นฐาน
ส าคัญของประชาธิปไตย (Manor 2003; Smith, 2003, p.23 อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล, ทศพล สมพงษ์, และ
สมเกียรติ นากระโทก, 2563, น.51) กระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะถือเป็นช่องทางและเป็นพื้นที่
15