Page 26 - kpiebook65018
P. 26
25
(2) เกณฑ์การพิจารณาจากผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพ
การแยกสิทธิและเสรีภาพประเภทนี้พิจารณาจากผู้ซึ่งได้รับสิทธิตาม
15
รัฐธรรมนูญหรือบุคคลซึ่งรัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง จากการใช้เกณฑ์นี้
จึงสามารถจ�าแนกสิทธิและเสรีภาพได้เป็น 2 ประเภท คือ สิทธิมนุษยชน และสิทธิพลเมือง
สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิและเสรีภาพที่ถือกันว่าติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่
ก�าเนิด และไม่อาจถูกพรากไปจากราษฎรได้โดยไม่เป็นการท�าลายความเป็นมนุษย์
ของราษฎร สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนี้ จึงมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคน
16
โดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนของชาติใด เชื้อชาติใด หรือศาสนาใด หาก
บุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอ�านาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้น บุคคลนั้น
ย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ๆ ด้วย สิทธิมนุษยชนเป็นคุณลักษณะ
ประจ�าตัวของมนุษย์ทุกคน เป็นสิทธิและเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะ
ที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลแต่เพียงอย่างเดียวว่า เพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้วตั้งแต่ก่อนที่จะมีรัฐเกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
17
สิทธิในชีวิตร่างกาย เสรีภาพในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ เสรีภาพในการนับถือศาสนา
เป็นต้น
15 บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐำนเกี่ยวกับสิทธิเสรีภำพ และศักดิ์ศรีควำมเป็นมนุษย์,
(กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส�านักพิมพ์วิญญูชน จ�ากัด, 2552), หน้า 53.
16 วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, รำยงำนกำรวิจัย สิทธิและเสรีภำพตำมรัฐธรรมนูญ(ศึกษำรูปแบบ
กำรจ�ำกัดสิทธิและเสรีภำพที่รัฐธรรมนูญให้ไว้อย่ำงเหมำะสม), (กรุงเทพมหานคร : ส�านักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538), หน้า 24.
17 บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐำนเกี่ยวกับสิทธิเสรีภำพ และศักดิ์ศรีควำมเป็นมนุษย์,
(กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส�านักพิมพ์วิญญูชน จ�ากัด, 2552), หน้า 53.