Page 24 - kpiebook65018
P. 24

23


                          1.1.4 ประเภทของสิทธิและเสรีภาพ


                  ในการจ�าแนกประเภทของสิทธิและเสรีภาพนั้น อาจแบ่งแยกได้หลายลักษณะ

           ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการจ�าแนก โดยในที่นี้จะใช้เกณฑ์ในการแบ่งจ�าแนก
           2 หลักเกณฑ์ ได้แก่ เกณฑ์การพิจารณาจากวิธีการใช้สิทธิและเสรีภาพ และเกณฑ์

           การพิจารณาจากผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพ


                  (1) เกณฑ์การพิจารณาจากวิธีการใช้สิทธิและเสรีภาพ       13


                      เป็นเกณฑ์ที่พิจารณาโดยอาศัยลักษณะหรือวิธีการใช้สิทธิและเสรีภาพ

           ของประชาชนกับหน้าที่ของรัฐเป็นข้อพิจารณาในการแบ่งสิทธิและเสรีภาพดังกล่าว
           ซึ่งสามารถท�าให้เข้าใจพื้นฐานของสิทธิและเสรีภาพแต่ละประเภทว่ามีจุดมุ่งหมายอย่างไร
           และการที่ท�าให้บรรลุความมุ่งหมายสิทธิและเสรีภาพแต่ละประเภทจะต้องด�าเนินการ

           อย่างไร โดยแบ่งแยกสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 14


                      สิทธิและเสรีภำพที่ปลอดจำกกำรแทรกแซงของรัฐ (status negatives)
           คือ กลุ่มของสิทธิและเสรีภาพที่การใช้สิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลจะต้องปราศจาก

           การเข้ามาแทรกแซงใด ๆ ของรัฐ การใช้สิทธิและเสรีภาพประเภทนี้เป็นเรื่องที่ปัจเจกบุคคล
           สามารถด�าเนินการไปได้เองโดยรัฐไม่จ�าต้องเข้ามาด�าเนินการใด ๆ เป็นสิทธิและเสรีภาพ


           13   ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ เรียกเกณฑ์นี้ในอีกชื่อหนึ่งว่า “เกณฑ์ตามแนวคลาสสิค
           ของเยอรมัน” เนื่องจากเป็นเกณฑ์ที่เสนอโดย Georg Jellinek นักกฎหมายชาวเยอรมัน
           14    บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐำนเกี่ยวกับสิทธิเสรีภำพ และศักดิ์ศรีควำมเป็นมนุษย์,
           (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส�านักพิมพ์วิญญูชน จ�ากัด, 2552), หน้า 52-53 และสมคิด เลิศไพฑูรย์,
           กฎหมำยรัฐธรรมนูญ หลักกำรใหม่ตำมรัฐธรรมนูญแห่งอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2540,
           (กรุงเทพมหานคร: ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), หน้า 49-50.
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29