Page 21 - kpiebook65018
P. 21

20   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง


        ย่อมเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องให้ความเคารพ (respect) คุ้มครอง (protect) และเติมเต็ม
        (fulfill) สิทธิของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ด้วย



                        1.1.2 แนวคิดเกี่ยวกับ “เสรีภาพ”


               เมื่อกล่าวถึงค�าว่า “เสรีภาพ” แล้ว โดยความเข้าใจของคนทั่วไปมักหมายถึง

        ความเป็นอิสระเสรีไม่อยู่ภายใต้บังคับของผู้ใดสอดคล้องกับการให้ความหมายตาม
        พจนำนุกรมฉบับรำชบัณฑิตยสถำน พุทธศักรำช 2554 ที่ได้ให้ความหมายไว้ว่า

        หมายถึง ความสามารถที่จะกระท�าการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนา โดยไม่มีอุปสรรค
        ขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา ความมีสิทธิที่จะท�าจะพูดได้

        โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นต้น ดังนั้น เมื่อบุคคลใดมีเสรีภาพแล้ว ย่อมหมายความว่า
        บุคคลนั้นสามารถที่จะกระท�าการใด หรือไม่กระท�าการใด อันปราศจากการบังคับหรือ

        อยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลหรือแม้กระทั่งภายใต้อ�านาจรัฐก็ตาม 8

               เสรีภาพจึงเป็นภาวะของมนุษย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบง�าของผู้อื่น เป็นภาวะที่

        ปราศจากการถูกหน่วงเหนี่ยวขัดขวาง บุคคลใดบุคคลหนึ่งย่อมมีเสรีภาพอยู่ตราบเท่าที่
        เขาไม่ถูกบังคับให้กระท�าในสิ่งที่เขาไม่ประสงค์จะกระท�า  เสรีภาพจึงเป็นอ�านาจ
                                                         9
        ในการก�าหนดตนเองโดยอิสระของบุคคลที่จะกระท�าการใดหรือไม่กระท�าการใด
        อันเป็นอ�านาจที่มีเหนือตนเอง” 10




        8   สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมำยรัฐธรรมนูญ หลักกำรใหม่ตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
        พุทธศักรำช 2540, (กรุงเทพมหานคร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), หน้า 47.
        9   วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, รำยงำนกำรวิจัย สิทธิและเสรีภำพตำมรัฐธรรมนูญ(ศึกษำรูปแบบ
        กำรจ�ำกัดสิทธิและเสรีภำพที่รัฐธรรมนูญให้ไว้อย่ำงเหมำะสม), (กรุงเทพมหานคร : ส�านักงาน
        กองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538), หน้า 17.
        10   บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐำนเกี่ยวกับสิทธิเสรีภำพ และศักดิ์ศรีควำมเป็นมนุษย์,
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26