Page 22 - kpiebook65018
P. 22
21
กล่าวโดยสรุป เสรีภาพมีลักษณะประการส�าคัญคือ สภาวะที่บุคคลมีความเป็น
อิสระและสมัครใจในการก�าหนดว่าตนเองนั้นจะกระท�าการหรือไม่กระท�าการอย่างใด ๆ
โดยปราศจากการรบกวนไม่ตกอยู่ภายใต้อ�านาจบังคับบัญชาของผู้ใด องค์กรใด
หรือแม้กระทั่งรัฐใด ดังนั้น บุคคลจะกระท�าการหรือไม่กระท�าการใด ๆ ก็ได้อันเป็น
เสรีภาพของตนเอง
1.1.3 ความแตกต่างระหว่าง
“สิทธิ” และ “เสรีภาพ”
ในแง่ของความแตกต่างระหว่างสิทธิและเสรีภาพ ศำสตรำจำรย์ ดร.วิษณุ
เครืองำม ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “สิทธินั้นถือเป็นอ�านาจหรือโอกาสที่มีการคุ้มครองว่า
ถ้าท�าไปแล้วไม่ผิด และมีทางเลือกว่าจะท�าหรือไม่ก็ได้ ถือเป็นประโยชน์ที่ได้รับ
การรับรองและคุ้มครอง โดยทั่วไปแล้วย่อมมาจากกฎหมาย ส่วนเสรีภาพ หมายถึง
11
ความมีอิสระที่จะกระท�าการหรืองดเว้นกระท�าการใด ๆ” ซึ่งศำสตรำจำรย์พิเศษ
ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ได้ขยายความเพิ่มเติมว่า “สิทธิเป็นอ�านาจที่บุคคลใช้
ในความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น โดยการเรียกร้องให้ผู้อื่นกระท�าการหรือละเว้น
กระท�าการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นประโยชน์แก่ตน จริงอยู่การที่กฎหมายรับรอง
เสรีภาพอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่บุคคล ย่อมมีผลก่อให้เกิดหน้าที่แก่ผู้อื่นด้วยเหมือนกัน
แต่หน้าที่ที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นอันเนื่องมาจากการที่กฎหมายรับรองเสรีภาพให้แก่บุคคล
คนหนึ่งนี้ เป็นแต่เพียงหน้าที่ที่จะต้องเคารพเสรีภาพของเขา ผู้ทรงเสรีภาพคงมีอ�านาจ
ตามกฎหมายแต่เพียงที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นละเว้นจากการรบกวนขัดขวางการใช้เสรีภาพ
(กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2552), หน้า 51.
11 วิษณุ เครืองาม, “สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ”, ในรวมบทควำมสู่สิทธิมนุษยชน,
(กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535), หน้า 38-39.