Page 20 - kpiebook65018
P. 20
19
ส�าหรับการพิจารณาความหมายของสิทธิตำมรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็น
สิทธิตามกฎหมายมหาชน ศำสตรำจำรย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ได้ให้ความหมาย
ของค�าว่า “สิทธิตามรัฐธรรมนูญ” ที่แตกต่างจาก “สิทธิ” ตามความหมายทั่วไป
โดยสิทธิตามรัฐธรรมนูญนั้น หมายถึง “อ�านาจตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด
ได้บัญญัติให้การรับรองคุ้มครองแก่ปัจเจกบุคคลในอันที่จะกระท�าการใดหรือ
ไม่กระท�าการใด การให้อ�านาจแก่ปัจเจกบุคคลดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้อง
ที่จะไม่ให้บุคคลใดแทรกแซงในสิทธิตามรัฐธรรมนูญของตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรียกร้อง
ต่อองค์กรของรัฐมิให้แทรกแซงในขอบเขตสิทธิของตน ในบางกรณีการรับรองดังกล่าว
ได้ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องให้รัฐด�าเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
ยังหมายรวมถึง การให้ประกันทางหลักการ ซึ่งหมายถึงการมุ่งคุ้มครองต่อสถาบัน
ในทางกฎหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น มุ่งคุ้มครอง “กรรมสิทธิ์” หรือ “เสรีภาพทาง
วิชาการ” เป็นต้น ดังนั้น สิทธิตามรัฐธรรมนูญจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกบุคคล
กับรัฐ และสิทธิตามรัฐธรรมนูญเป็นสิทธิที่ผูกพันองค์กรผู้ใช้อ�านาจรัฐทั้งหลายที่จะต้อง
ให้ความเคารพ ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว เพื่อให้สิทธิ
ตามรัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติ 7
จากทั้งหมดข้างต้น ผู้เขียนสามารถสรุปได้ว่า สิทธิ ก็คืออ�านาจที่กฎหมาย
รับรองให้แก่บุคคลให้สามารถเรียกร้องให้บุคคลอื่น หรือหน่วยงานของรัฐกระท�าการหรือ
ไม่กระท�าการอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ตนเอง เมื่อบุคคลใดหรือหน่วยงานใดถูกเรียกร้อง
ให้ต้องปฏิบัติตามแล้วก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามที่ถูกเรียกร้อง ดังนั้น
สิทธิของบุคคลหนึ่งย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง สิทธิและหน้าที่จึงเป็น
เรื่องที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะหากเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญแล้ว
7 บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐำนเกี่ยวกับสิทธิเสรีภำพ และศักดิ์ศรีควำมเป็นมนุษย์,
(กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2552), หน้า 48-49.