Page 17 - kpiebook65018
P. 17
16 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิและหน้าที่ของพลเมือง
ที่กฎหมายคุ้มครองให้” ซึ่งเป็นมุมมองที่เน้นไปที่วัตถุประสงค์ของสิทธิ กล่าวคือ การที่
กฎหมายให้อ�านาจแก่บุคคลที่จะมีเจตจ�านง ก็เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งบุคคล
มุ่งประสงค์ ฉะนั้นจึงควรถือว่าสิทธิเป็นประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองมากกว่าจะเป็นอ�านาจ
ส่วนบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับความเห็นที่สองนี้ เห็นว่าการที่จะถือว่าสิทธิเป็นประโยชน์
ที่กฎหมายคุ้มครองให้นั้นแคบไป เพราะมีสิทธิจ�านวนมากที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
เจ้าของนั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย เห็นว่า ไม่ควรถือความเห็น
อันใดอันหนึ่งความเห็นเดียวเป็นความเห็นที่ถูกต้อง แต่ควรมองว่า สิทธิเป็นทั้ง
“อ�ำนำจ” และเป็นทั้ง “ประโยชน์” และควรจะถือว่า สิทธิ คือ อ�านาจที่กฎหมายให้
เพื่อให้ส�าเร็จประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครอง ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สิทธิ คือ ประโยชน์ที่
กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ซึ่งหมายความว่า เป็นประโยชน์ที่กฎหมายรับรองว่า
มีอยู่ และเป็นประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครอง คือคุ้มครองมิให้มีการละเมิดสิทธิ
เมื่อเรากล่าวว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดมีสิทธิแล้ว บุคคลนั้นย่อมมีอ�านาจที่
กฎหมายรับรองและสามารถเรียกร้องให้บุคคลอื่นหรือหน่วยงานของรัฐกระท�าการหรือ
ไม่กระท�าการอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ตนเอง สอดคล้องกับที่ ศำสตรำจำรย์พิเศษ
ดร.วรพจน์ วิศรุตพิชญ์ ได้อธิบายไว้ว่า “สิทธิ คือ อ�านาจที่กฎหมายรับรองให้แก่
บุคคลในอันที่จะกระท�าการเกี่ยวข้องกับทรัพย์หรือบุคคลอื่น (เช่น สิทธิทางหนี้
กรรมสิทธิ์ ฯลฯ) เป็นต้นว่าอ�านาจที่กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลคนหนึ่ง ในอันที่จะ
เรียกร้องให้ผู้อื่นอีกคนหนึ่งหรือหลายคนกระท�าการบางอย่างบางประการ ให้เกิด
ประโยชน์แก่ตน หรือให้ละเว้นกระท�าการอย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนั้น สิทธิจึงก่อ
3
3 วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, รำยงำนกำรวิจัย สิทธิและเสรีภำพตำมรัฐธรรมนูญ (ศึกษำรูปแบบ
กำรจ�ำกัดสิทธิและเสรีภำพที่รัฐธรรมนูญให้ไว้อย่ำงเหมำะสม), (กรุงเทพมหานคร : ส�านักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538), หน้า 16.