Page 28 - kpiebook65018
P. 28
27
จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพข้างต้น จึงเห็นได้ว่า “สิทธิ”
“เสรีภาพ”และ “หน้าที่” ล้วนมีความเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ สิทธิหมายถึงอ�านาจที่
กฎหมายรับรองให้แก่บุคคลคนหนึ่ง ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นกระท�าการบางอย่าง
บางประการให้เกิดประโยชน์แก่ตน หรือให้ละเว้นกระท�าการอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง
จึงอาจกล่าวได้ว่า “สิทธิ” ได้ก่อให้เกิด “หน้าที่” แก่บุคคลอื่นด้วย ในทางกฎหมาย
มหาชน สิทธินั้นจะเรียกร้องให้รัฐโดยหน่วยงานของรัฐ กระท�าการ หรือไม่กระท�าการใด ๆ
เพื่อตนได้ทุกกรณี ในขณะที่ “เสรีภาพ” หมายถึง อ�านาจของบุคคลในอันที่จะก�าหนด
ตนเอง โดยอ�านาจนี้บุคคลย่อมเลือกวิถีชีวิตของตนได้ด้วยตนเอง เสรีภาพจึงเป็นอ�านาจ
21
ที่บุคคลมีอยู่เหนือตนเอง” และมีอิสระในการที่จะกระท�าการอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือไม่กระท�าการใดตามความประสงค์ของตน โดยใจสมัครอันปราศจากการบังคับ
22
หรืออยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลอื่นหรือรัฐ ในแง่หนึ่งอาจมองได้ว่าการมี “เสรีภาพ”
คือ การที่บุคคลมีอิสระที่จะกระท�าการหรืองดเว้นกระท�าการใด ๆ โดยไม่ได้ก�าหนดให้รัฐ
หรือบุคคลใดมีหน้าที่แต่ประการใด แต่หากมองอีกแง่แล้ว การที่กฎหมายรับรองเสรีภาพ
อย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่บุคคล ย่อมมีผลก่อให้เกิด “หน้าที่” แก่ผู้อื่นด้วยเหมือนกัน
แต่ “หน้าที่” ที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นอันเนื่องมาจากการที่กฎหมายรับรองเสรีภาพให้แก่
บุคคลคนหนึ่งนี้ เป็นแต่เพียง “หน้าที่” ที่จะต้องเคารพเสรีภาพของเขา ผู้ทรงเสรีภาพ
คงมีอ�านาจตามกฎหมายแต่เพียงที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นละเว้นจากการรบกวนขัดขวาง
21 วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, รำยงำนกำรวิจัย สิทธิและเสรีภำพตำมรัฐธรรมนูญ(ศึกษำรูปแบบ
กำรจ�ำกัดสิทธิและเสรีภำพที่รัฐธรรมนูญให้ไว้อย่ำงเหมำะสม), (กรุงเทพมหานคร : ส�านักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2538), หน้า 17.
22 สมคิด เลิศไพฑูรย์, กฎหมำยรัฐธรรมนูญ หลักกำรใหม่ตำมรัฐธรรมนูญแห่งอำณำจักรไทย
พุทธศักรำช 2540, (กรุงเทพมหานคร: ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548), หน้า 47.