Page 32 - kpiebook65018
P. 32
31
(3) บุคคลย่อมอ้างหรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิด
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัด
ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยบุคคลจะอยู่ในฐานะผู้ทรงสิทธิ
กล่าวคือ มีอ�านาจในทางกฎหมาย และก่อให้เกิดความผูกพันต่อ
บุคคลอื่น ผู้ทรงสิทธิจึงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่นกระท�าการ ละเว้น
กระท�าการ หรือให้ยอมรับการกระท�าของตนเอง
(4) บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตาม
รัฐธรรมนูญสามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทาง
ศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้ (มาตรา 25 วรรคสาม) และ
บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือ
จากการกระท�าความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับ
การเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 25
วรรคสี่)
(5) การจ�ากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระท�า
มิได้ เว้นแต่การกระท�าโดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
(กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติหรือที่มีศักดิ์เทียบเท่า) ตามเงื่อนไข
ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเงื่อนไขไว้
บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จ�ากัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องไม่ขัดต่อ
หลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจ�ากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล
เกินสมควรแก่เหตุ และจะกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ
บุคคลไม่ได้ รวมทั้งต้องระบุเหตุผลความจ�าเป็นในการจ�ากัดสิทธิและ
เสรีภาพไว้ด้วย ทั้งนี้ กฎหมายที่จ�ากัดสิทธิและเสรีภาพนั้น ต้องมีผล
เป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีหนึ่ง หรือแก่บุคคลใด
บุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง (มาตรา 26)