Page 36 - kpiebook65018
P. 36
35
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ถ้อยค�าเพื่อรับรองสิทธิเสรีภาพของปวงชน
ชาวไทยในฐานะที่เป็นสิทธิของบุคคล และสิทธิของบุคคลและชุมชน กล่าวคือ
มีข้อสังเกตว่าบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ส่วนใหญ่
ได้บัญญัติสิทธิเสรีภาพในลักษณะที่เป็นสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน เช่น บุคคลย่อม
มีสิทธิและเสรีภาพ... (มาตรา 28) บุคคลย่อมมีสิทธิ... (มาตรา 37 และมาตรา 47)
บุคคลย่อมมีเสรีภาพ... (มาตรา 31 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 34 มาตรา 36
มาตรา 38 มาตรา 40 มาตรา 42 และมาตรา 44) เป็นต้น โดยมีเพียงมาตรา 41
และมาตรา 43 ที่บัญญัติถ้อยค�าว่า “บุคคลและชุมชน” ย่อมมีสิทธิ... จึงเห็นได้ว่า
สองมาตรานี้ได้รับรองว่า “ชุมชน” มีสิทธิต่าง ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 บัญญัติ แต่ก็มิได้มีการนิยามค�าว่า “ชุมชน” ว่ามีความหมายอย่างไร
ต้องมีความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ ผลประโยชน์ จุดมุ่งหมาย หรืออุดมการณ์ในการรวมตัว
กันหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา หากชุมชนมีการเรียกร้องและอ้างถึงสิทธิตามที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติไว้
1.1.6 เจตนารมณ์เบื้องหลังของบทบัญญัติเกี่ยวกับ
สิทธิเสรีภาพของพลเมืองที่ปรากฏตามรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
จากการศึกษาเอกสารความมุ่งหมายและค�าอธิบายประกอบรายมาตรา
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยเฉพาะความมุ่งหมาย
ของหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย พบว่าบทบัญญัติในหมวดนี้
บัญญัติขึ้นเพื่อรองรับแนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐเพื่อที่จะสามารถ