Page 30 - kpiebook65018
P. 30
29
ค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ที่ตีความค�าว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” 24
การรับรองสิทธิหรือเสรีภาพไว้ในรัฐธรรมนูญฯ นั้น ส่งผลประการส�าคัญ ดังนี้
(1) สิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
และก่อให้เกิดสิทธิในทางมหาชน กล่าวคือ สิทธิและเสรีภาพก่อให้เกิด
สิทธิในการป้องกันตนเองของปัจเจกบุคคลต่อการแทรกแซงของรัฐ
ในเสรีภาพหรือในทรัพย์สิน โดยมีความมุ่งหมายที่ให้เกิดความมั่นคง
หรือหลักประกันต่อเสรีภาพของปัจเจกบุคคลอันเกิดจากการแทรกแซง
24 ด้วยที่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่มีเครือข่ายชุมชนหลายแห่งที่มีจารีตประเพณีในการผลิตสุราพื้นบ้าน
ได้รวมตัวกันในลักษณะของเครือข่ายสุราเพื่อนบ้าน และได้มีการน�าเสนอเรื่องสู่ศาลรัฐธรรมนูญว่า
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ที่บัญญัติเรื่องสิทธิชุมชนไว้ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้มีค�าวินิจฉัยตามค�าวินิจฉัยที่
6/2546 ศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 27 มีนาคม 2546 ว่า “รัฐธรรมนูญมาตรา 46 มีเจตนารมณ์ให้
บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
มีส่วนร่วมในการจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่
ชุมชนเองการบ�ารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนให้ได้ประโยชน์
ร่วมกันส�าหรับจารีตประเพณีศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของชุมชนก็ให้อนุรักษ์ไว้ แต่สิทธิตามที่กล่าว
จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติด้วย ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายเรื่องสิทธิของ
บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมบัญญัติไว้การที่พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 บัญญัติ
ให้การท�าสุราหรือมีภาชนะหรือเครื่องกลั่นส�าหรับท�าสุราไว้ในครอบครองจะต้องได้รับอนุญาตจาก
อธิบดีกรมสรรพสามิตนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายก�าหนดให้บุคคลต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปตาม
เงื่อนไข ดังนั้น พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5 จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 46”
หลังจากนั้นก็ได้มีการน�าเรื่องเดียวกันนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญอีกหลายครั้ง
ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีการวินิจฉัยเป็นไปในท�านองเดียวกัน อันได้แก่ ค�าวินิจฉัยที่ 25/2547,
52-53/2547, 36/2548, 37/2548, 38/2548 และ 39/2548