Page 73 - kpiebook65017
P. 73

72   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การคลังสาธารณะ


         ได้บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน
         มิให้สมาชิกรัฐสภาและกรรมาธิการเข้าไปมีส่วนโดยทางตรงและทางอ้อมในการใช้

         งบประมาณรายจ่าย อันอาจจะท�าให้เกิดปัญหาการทุจริตตามมาได้ จึงได้มีการเพิ่ม
                                       69
         ความในมาตรา 144 วรรคสามขึ้นมา

                 แม้ว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 144 วรรคสาม จะมีเพื่อก�าหนดมาตรการ
         ในการปราบโกง หรือการป้องกันไม่ให้น�างบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือในการทุจริต

         แต่การก�าหนดโทษโดยเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของสมาชิกรัฐสภาและรัฐมนตรี
         ซึ่งเป็นสิทธิทางการเมือง อันเป็นสิทธิพลเมืองที่มีความส�าคัญในระบอบประชาธิปไตย

         การเพิกถอนสิทธิสมัครเลือกตั้งจึงต้องอาศัยเหตุผลและความจ�าเป็นอย่างยิ่งตามที่
         กฎหมายก�าหนด โดยเฉพาะการจ�ากัดสิทธิถึงขนาดที่กระทบสาระส�าคัญของสิทธิ

         อันท�าให้บุคคลปราศจากสิทธินั้นไปโดยสิ้นเชิงจึงต้องมีเหตุผลที่หนักแน่นและต้องมี
         หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน  ดังนั้น การลงโทษจึงต้องถือหลักความได้สัดส่วนด้วย
                         70

                 เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติมาตรา 144 วรรคสามแล้วมีปัญหาความไม่ชัดเจน
         ของกฎหมายในหลายประการ ได้แก่


                 ประการแรก ด้วยถ้อยค�าของมาตรา 144 วรรคสอง ที่ว่า “การกระท�าด้วย
         ประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ

         มีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่าย” เป็นข้อความที่ไม่เจาะจง และมีปัญหา

         ในการตีความดังที่อธิบายไว้ในหัวข้อก่อหน้านี้ จึงเปิดช่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญ
         ใช้ดุลพินิจในการพิจารณาวินิจฉัยได้มาก



         69    คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ, บันทึกการประชุม ครั้งที่ 95 (1 มีนาคม 2559).
         70    พรรษวัฒน์ พูนทองพันธ์, ‘ปัญหาการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง’ (วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต
         มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553) 25 – 28.
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78