Page 69 - kpiebook65017
P. 69
68 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
เป็นการริเริ่มก�าหนดรายจ่ายอย่างหนึ่ง เป็นต้น และไม่อนุญาตให้รัฐสภาเป็นผู้ใช้จ่าย
งบประมาณที่ตนเองเป็นผู้อนุมัติ ดังนั้น การมีส่วนในการใช้งบประมาณในทางตรง
จึงเป็นกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการ เป็นผู้ใช้
งบประมาณรายจ่ายที่ตนเป็นผู้อนุมัตินั้นด้วยตนเอง เช่น กรณีของงบพัฒนาจังหวัด
64
หรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งรัฐสภาเป็นผู้อนุมัติงบประมาณดังกล่าว ในขณะเดียวกัน
ก็เป็นผู้ใช้งบประมาณดังกล่าวด้วย กรณีเช่นนี้จึงถือว่าเป็นกรณีการมีส่วนโดยทางตรง
ในการใช้งบประมาณรายจ่าย ซึ่งต้องห้ามมาตรา 144 วรรคสอง
เนื่องจากงบพัฒนาจังหวัดหรือกรุงเทพมหานครได้ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่
รัฐธรรมนูญปี 2540 ในปัจจุบัน การที่สมาชิกรัฐสภาหรือกรรมาธิการจะเข้าไปมีส่วน
ในการใช้งบประมาณรายจ่ายด้วยตนเอง อันเป็นการมีส่วนโดยทางตรงในการใช้
งบประมาณรายจ่ายนั้นเกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัญหาการตีความว่าอย่างไร
เป็นการมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่ายทางอ้อม หากพิจารณาเจตนารมณ์
ของบทบัญญัติมาตรา 144 วรรคสองตามที่ปรากฏในหนังสือที่ (รธน.) 546/2560
เรื่อง ความมุ่งหมายของมาตรา 144 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2560 ความว่า “คณะกรรมาการร่างรัฐธรรมนูญขอเรียนว่า
มาตรา 144 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีความมุ่งหมายเพื่อป้องกัน
มิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือคณะกรรมาธิการ เสนอ แปรญัตติ
หรือกระท�าด้วยประการใด ๆ อันมีผลให้ผู้นั้นมีส่วนไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมในการ
ใช้จ่ายงบประมาณเพื่อประโยชน์อันเป็นส่วนตน มิได้ห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา หรือคณะกรรมาธิการด�าเนินการตามหน้าที่และอ�านาจเพื่อประโยชน์
64 ดูประกอบ สมคิด เลิศไพฑูรย์, ‘งบพัฒนาจังหวัด: ปัญหาในทางกฎหมายการคลังและกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ’ ใน สมคิด เลิศไพฑูรย์ (บรรณาธิการ) รวมบทความกฎหมายการคลัง เล่ม 1 (วิญญูชน
2537) 137-141.