Page 66 - kpiebook65017
P. 66
65
แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังไม่เคยวินิจฉัยว่ามีการกระท�าที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
61
สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่ายแต่อย่างใด
ทั้งนี้ มาตรา 144 วรรคสอง มีถ้อยค�าที่ไม่ชัดเจนในหลายประการ ได้แก่ ประการแรก
บุคคลใดที่ต้องห้ามมิให้กระท�าด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่าย ซึ่งจะมีความแตกต่าง
จากบทบัญญัติตามมาตรา 144 วรรคหนึ่ง ที่เขียนอย่างชัดเจนว่าต้องการห้าม
“สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” มิให้แปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการ
หรือจ�านวนในรายการ ประการที่สอง ค�าว่า “การกระท�าด้วยประการใด ๆ” หมายถึง
การกระท�าในลักษณะใด เพราะเป็นค�าที่เปิดโอกาสให้ตีความได้กว้างและครอบคลุมได้
หลายลักษณะการกระท�า ประการที่สาม อย่างไรจึงจะถือว่า มีส่วนในการใช้งบประมาณ
รายจ่ายโดยทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากบทบัญญัติมาตรา 144 วรรคสองห้ามมิให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการมีส่วนในการ “ใช้” งบประมาณ
รายจ่าย ซึ่งโดยสภาพในขั้นตอนของการอนุมัติงบประมาณไม่อาจท�าให้เกิดการใช้
งบประมาณตามถ้อยค�าดังกล่าวได้ เพราะการใช้งบประมาณจะเกิดขั้นในขั้นตอนของ
การบริหารงบประมาณเท่านั้น กล่าวคือ การใช้จะเกิดขึ้นเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายประจ�าปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมใช้บังคับแล้วเท่านั้น
การมีส่วนในการใช้งบประมาณจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนของการอนุมัติร่างกฎหมาย
ว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
61 โปรดดู ค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 32/2546; ค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 14/2551;
ค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 14/2552.