Page 61 - kpiebook65017
P. 61
60 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
เป็นครั้งแรก เนื่องจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 เห็นความส�าคัญของการแสดงแหล่งที่มาของรายได้ในการตั้ง
งบประมาณรายจ่ายชดใช้ จึงได้เพิ่มเติมข้อความดังกล่าวในมาตรา 169 ด้วย
โดยมีเจตนารมณ์เพื่อก�าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจ่ายเงินแผ่นดินทุกกรณี
และต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังที่ถูกใช้ไปก่อนในปีงบประมาณ
ถัดไปโดยต้องระบุที่มาของเงินรายได้เพื่อชดใช้เงินคงคลังดังกล่าวด้วยว่ามาจากรายได้
ประเภทใด จ�านวนเท่าใด และให้แยกวงเงินชดใช้นั้นไว้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากวงเงิน
งบประมาณในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีงบประมาณที่ขอตั้งชดใช้
ทั้งนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งโครงสร้างการจัดท�างบประมาณที่ต้องรับอนุมัติจากรัฐสภาและในกรณี
ที่เงินคงคลังมีจ�านวนเพิ่มขึ้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
55
โดยไม่ต้องท�าการกู้ยืมเพื่อชดเชยการขาดดุลได้อีกทางหนึ่ง
ผู้เขียนเห็นว่า เหตุผลที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยควรก�าหนดให้แสดงที่มา
ของรายได้เพื่อการตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังมีสามประการ ดังนี้
ประการแรก ท�าให้รัฐสภาได้ทราบว่าเมื่อปีงบประมาณที่แล้ว รัฐบาลได้
ใช้จ่ายเงินในกรณีจ�าเป็นเร่งด่วนที่เป็นการใช้นอกเหนือที่พระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจ่ายอนุญาตไว้จ�านวนเท่าใด กล่าวคือ เป็นเงินที่รัฐสภาไม่ได้อนุมัติตั้งแต่ต้น ดังนั้น
การตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้โดยแสดงแหล่งที่มาของรายได้ในพระราชบัญญัติ
โอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือ
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีงบประมาณถัดไป แล้วแต่กรณี เปรียบเสมือน
รัฐสภาให้สัตยาบันสิ่งที่รัฐบาลได้ใช้ไปก่อนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลัก
55 คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุและตรวจรายงานการประชุม
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ส�านักกรรมาธิการ 3 ส�านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, เจตนารมณ์
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (สิงหาคม 2550) 168.