Page 59 - kpiebook65017
P. 59
58 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญและกฎหมายวิธีการงบประมาณหรือกฎหมายเงินคงคลัง
ไม่ได้ก�าหนดวิธีการตั้งรายจ่ายชดใช้เป็นการเฉพาะ แต่หากพิจารณาจากแนวปฏิบัติ
จะพบว่าวิธีการตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้นั้น ต้องแยกงบประมาณรายจ่ายชดใช้ไว้เป็น
บทบัญญัติหนึ่งต่างหากจากงบประมาณอื่น ๆ ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ซึ่งหมายความว่าตัวเลขของงบประมาณรายจ่ายชดใช้จะแยกออกจากตัวเลขของ
งบประมาณรายจ่ายอื่น ๆ อย่างชัดเจนไม่ปะปนกัน อันจะท�าให้รัฐสภามองเห็นตัวเลข
ทั้งสองอย่างชัดเจน ทั้งนี้ แม้เงินที่จ่ายในกรณีจ�าเป็นเร่งด่วนเหล่านี้จะเป็นการจ่าย
เงินคงคลังหรือเงินทุนส�ารองจ่ายนั้น ๆ ในปีงบประมาณที่มีการจ่ายจริง แต่การตั้ง
งบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินคงคลังนั้นอาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณเดียวกันกับที่มี
การจ่ายเงินนั้นหรืออาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณถัดไปก็ได้ กล่าวคือ ในกรณีที่ปีงบประมาณ
นั้นมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมหรือพระราชบัญญัติ
โอนงบประมาณรายจ่าย การตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ย่อมเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
เดียวกันกับที่ได้มีการจ่ายเงินออกไป กรณีเช่นนี้งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
นั้นเป็นรายจ่ายของปีงบประมาณที่มีการจ่ายเงินนั้น แต่หากไม่มีการประกาศใช้กฎหมาย
เหล่านี้ การตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ย่อมเกิดขึ้นในปีงบประมาณหน้า เนื่องจาก
จะเป็นการตั้งในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีงบประมาณถัดไป กรณี
เช่นนี้ งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้นั้นจึงกลายเป็นรายจ่ายของปีงบประมาณถัดไป
โดยสภาพ แม้ว่าจะเป็นการจ่ายเงินไปก่อนเมื่อปีงบประมาณที่แล้วก็ตาม 53
นอกจากนี้ มาตรา 140 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 ไม่ได้มีการบัญญัติให้แสดงแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลัง
จ่ายไปก่อนแล้วด้วย ซึ่งแตกต่างจากมาตรา 169 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
53 สุปรียา แก้วละเอียด, กฎหมายการคลัง: ภาคงบประมาณแผ่นดิน (เชิงอรรถที่ 4) 220-221.