Page 54 - kpiebook65017
P. 54
53
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ได้มีการบัญญัติในเรื่องนี้ไว้แต่อย่างใด
มาตรการในการควบคุมรายจ่ายแผ่นดินที่เป็นภาษีกลับไปปรากฏอยู่ในมาตรา 32
วรรคสองของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่บัญญัติว่า
“การเสนอยกเว้นหรือการลดภาษีอากรตามวรรคหนึ่งต่อผู้มีอ�านาจอนุมัติ ให้หน่วยงาน
ของรัฐูเสนอจัดท�าประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจาก
การยกเว้นหรือลดภาษีด้วย” จะเห็นได้ว่า มาตรการตามมาตรา 32 วรรคสองของ
พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ไม่ได้ก�าหนดให้ต้องรายงานต่อ
รัฐสภาในรูปแบบของเอกสารประกอบงบประมาณดังเช่นที่ก�าหนดไว้ในมาตรา 167
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เพราะ “ผู้มีอ�านาจอนุมัติ” นั้น
ย่อมแปรผันตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อ�านาจในการยกเว้นหรือลดภาษี เช่น
มาตรา 3 ประมวลรัษฎากรให้อ�านาจในการลดอัตราหรือยกเว้นภาษีโดยการตรา
46
พระราชกฤษฎีกา เช่นนี้ ผู้มีอ�านาจอนุมัติย่อมเป็นคณะรัฐมนตรี หรือมาตรา 12
47
ของพระราชก�าหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ให้อ�านาจแก่รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ในการประกาศลด
46 ประมวลรัษฎากร มาตรา 3
บรรดารัษฎากรประเภทต่าง ๆ ซึ่งเรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรนี้จะตราพระราชกฤษฎีกา
เพื่อการต่อไปนี้ก็ได้ คือ ...
47 พระราชก�าหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 มาตรา 12
เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศหรือเพื่อความผาสุกของประชาชนหรือเพื่อ
ความมั่นคงของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มีอ�านาจประกาศลดอัตราอากรส�าหรับของใด ๆ จากอัตราที่ก�าหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร หรือ
ยกเว้นอากรส�าหรับของใด ๆ หรือเรียกเก็บอากรพิเศษเพิ่มขึ้นส�าหรับของใด ๆ ไม่เกินร้อยละห้าสิบ
ของอัตราอากรที่ก�าหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรส�าหรับของนั้น ทั้งนี้ โดยจะก�าหนดหลักเกณฑ์และ
เงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ ...