Page 58 - kpiebook65017
P. 58

57



           ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 50

                  เมื่อพิจารณาบทบัญญัติทั้งสามมาตราดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า “พฤติการณ์

           ที่ท�าให้ต้องจ่ายเงินโดยเร็ว” เป็นเหตุผลที่รัฐธรรมนูญยอมให้จ่ายเงินไปก่อนที่กฎหมาย
           งบประมาณรายจ่ายอนุญาต แต่เพื่อเป็นการรักษาวินัยทางการคลังที่ดีและเป็นไป

           ตามหลักความรับผิดชอบทางการคลังที่ฝ่ายบริหารมีต่อฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญ
           จึงก�าหนดให้มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย

           ประจ�าปีถัดไป หรือในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือในพระราชบัญญัติ
           โอนงบประมาณรายจ่าย แล้วแต่กรณี กล่าวอีกนัยหนึ่ง การจ่ายเงินแผ่นดินตาม

           ข้อยกเว้นที่รัฐธรรมนูญก�าหนดเป็นการให้อ�านาจฝ่ายบริหารที่จะจ่ายเงินแผ่นดินโดยยืม
           เงินคงคลังจ่ายไปก่อนและภายหลังจะต้องมีการตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง

           ที่น�าจ่ายไปก่อน  ดังนั้น การตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้เป็นเทคนิคทางกฎหมาย
                         51
           การคลังซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะให้รัฐสภาได้รับทราบถึงการจ่ายเงินแผ่นดินไปก่อนที่จะมี

           กฎหมายอนุญาต
                         52





           50   พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 45

               ให้มีเงินทุนจ�านวนหนึ่งโดยให้รัฐมนตรีจ่ายจากคลัง เรียกว่า “เงินทุนส�ารองจ่าย” เป็นจ�านวน
           ห้าหมื่นล้านบาท เงินทุนนี้ให้น�าไปจ่ายได้ในกรณีที่มีความจ�าเป็นและเร่งด่วนเพื่อประโยชน์แก่
           ราชการแผ่นดิน และงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินส�ารองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ
           จ�าเป็นไม่เพียงพอ ทั้งนี้ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี และเมื่อได้จ่ายเงินไปแล้ว ให้ตั้งงบประมาณ
           รายจ่ายเพื่อชดใช้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายเพื่อสมทบเงินทุนนั้นไว้จ่ายต่อไปใน
           โอกาสแรก
           51   ปรีชา สุวรรณทัต, (เชิงอรรถที่ 23) 190.
           52   กองบรรณาธิการวารสารนิติศาสตร์, ‘สัมภาษณ์พิเศษ: นายพนัส สิมะเสถียร ปลัดกระทรวง
           การคลัง’ (2534) 3 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 314, 316-317.
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63