Page 53 - kpiebook65017
P. 53
52 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
การด�าเนินการดังกล่าวไม่ผ่านการใช้อ�านาจนิติบัญญัติและไม่ต้องขออนุมัติจาก
ฝ่ายนิติบัญญัติในการให้ความเห็นชอบ นอกจากจะเป็นการตัดอ�านาจของรัฐสภาแล้ว
ยังเป็นการจ�ากัดอ�านาจของศาลปกครองอีกด้วย เนื่องจากศาลปกครองท�าได้เพียง
ควบคุมว่ากฎดังกล่าวตราขึ้นถูกต้องโดยมีกฎหมายให้อ�านาจหรือเป็นไปตามรูปแบบที่
ถูกต้องหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่สามารถตรวจสอบความเหมาะสมของการออกกฎดังกล่าว
ว่าส่งผลเป็นการสร้างภาระทางการคลังของประเทศจนกระทบวินัยทางการคลัง
ที่ดีหรือไม่ ที่ผ่านมารายจ่ายแผ่นดินที่เป็นภาษีถูกน�ามาใช้ในการบริหารประเทศ
ตามแนวนโยบายประชานิยมจนกระทบต่อภาระทางการคลังของรัฐเป็นอย่างมาก
45
แม้ว่าแต่เดิม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 167
ได้ก�าหนดให้รัฐบาลท�ารายงานขาดรายได้จากมาตรการทางภาษีโดยการยกเว้นภาษี
เฉพาะรายในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแจ้งให้แก่รัฐสภาทราบในรูปแบบของเอกสาร
ประกอบงบประมาณ แต่มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงการแจ้งให้รัฐสภารับทราบเท่านั้น
ไม่ใช่อ�านาจในการพิจารณาและอนุมัติที่จะสามารถยับยั้งรายจ่ายแผ่นดินที่เป็น
ภาษีได้ การควบคุมรายจ่ายแผ่นดินที่เป็นภาษีของไทยจึงไม่มีประสิทธิภาพ ต่อมา
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ถูกยกเลิกไป แต่รัฐธรรมนูญ
45 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 167
ในการน�าเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีงบประมาณต้องมีเอกสาร
ประกอบซึ่งรวมถึงประมาณการรายรับ และวัตถุประสงค์ กิจกรรม แผนงาน โครงการในแต่ละ
รายการของการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน รวมทั้งต้องแสดงฐานะการเงินการคลังของประเทศ
เกี่ยวกับภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้จ่ายและการจัดหารายได้ ประโยชน์และ
การขาดรายได้จากการยกเว้นภาษีเฉพาะรายในรูปแบบต่าง ๆ ความจ�าเป็นในการตั้งงบประมาณ
ผูกพันข้ามปี ภาระหนี้และการก่อหนี้ของรัฐและฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจ ในปีที่ขออนุมัติ
งบประมาณนั้นและปีงบประมาณที่ผ่านมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาด้วย