Page 50 - kpiebook65017
P. 50
49
41
เกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตราเท่านั้น ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 174 อย่างไรก็ตาม
เมื่อพระราชก�าหนดมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ในการประชุมรัฐสภา
คราวต่อไป ให้คณะรัฐมนตรีเสนอพระราชก�าหนดนั้นต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาโดย
ไม่ชักช้า ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมและการรอการเปิดสมัยประชุมสามัญจะเป็นการชักช้า
คณะรัฐมนตรีต้องด�าเนินการให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณา
อนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชก�าหนดโดยเร็ว จึงเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญได้บังคับให้กลับมี
การน�าพระราชก�าหนดมาสู่การพิจารณาของรัฐสภาในท้ายที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม
รัฐสภาจะมีอ�านาจจ�ากัดในการพิจารณาและอนุมัติพระราชก�าหนดซึ่งส่งผลท�าให้
การออกพระราชก�าหนดทางภาษีขัดกับเจตนารมณ์ของหลักความยินยอมทางภาษี
หรือหลักไม่มีภาษีโดยไม่มีผู้แทน 42
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น การที่รัฐธรรมนูญของประเทศไทยไม่มี
การรับรองหลักความยินยอมทางภาษีไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ น�ามาสู่ปัญหาทาง
กฎหมาย ดังนี้
ประการแรก ส่งผลท�าให้ศาลรัฐธรรมนูญมีข้อจ�ากัดในการควบคุมตรวจสอบ
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายภาษีที่ไม่เป็นไปตามหลักความยินยอม
ทางภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการตราพระราชก�าหนดของฝ่ายบริหารเพื่อขยาย
41 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 174
ในกรณีที่มีความจ�าเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณา
โดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระมหากษัตริย์จะทรง ตราพระราชก�าหนดให้ใช้
บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติก็ได้ ...
42 สุปรียา แก้วละเอียด, ‘การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของภาษีโดยองค์กรตุลาการ’
(เชิงอรรถที่ 14) 845-846.