Page 52 - kpiebook65017
P. 52

51



                    43
           มาตรา 14  ก�าหนดมรดกที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีการรับมรดก แต่เปิดช่องเอาไว้ให้
           ฝ่ายบริหารสามารถตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อมาก�าหนดทรัพย์สินทางการเงินเพิ่มเติม

           ได้ในอนาคต ซึ่งมรดกที่ต้องเสียภาษีนั้นย่อมเป็นฐานภาษีอันเป็นตัวก�าหนดภาระทาง
           ภาษีของผู้เสียภาษีอย่างมีนัยยะส�าคัญ บทบัญญัติของกฎหมายภาษีจะต้องก�าหนด

           ไว้อย่างชัดเจนและควรได้รับการพิจารณาและอนุมัติโดยรัฐสภาซึ่งเป็นผู้แทนของ
           ประชาชนเสียก่อน


                  นอกจากนี้ ปัญหาการออกกฎหมายล�าดับรองทางภาษีที่น�าไปสู่การขาดรายได้
           จากการยกเว้นภาษีเฉพาะรายหรือรายจ่ายแผ่นดินที่เป็นภาษี (Tax Expenditure)

           ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะถูกน�ามาใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ รายจ่ายแผ่นดินที่เป็นภาษี
           โดยส่วนใหญ่แล้วถูกก�าหนดในรูปแบบของกฎหมายล�าดับรองทางภาษีในชั้น

           พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ที่ก�าหนดให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
           แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นเฉพาะราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนหรือช่วยเหลือ

           การด�าเนินกิจการหรือกิจกรรมบางประการของผู้เสียภาษีกลุ่มหนึ่งด้วยการยกเว้นภาษี
           การลดหย่อนภาษี การลดอัตราภาษี การเครดิตภาษีหรือขอคืนภาษี เป็นต้น
                                                                               44


           43   พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 มาตรา 14
               มรดกซึ่งต้องเสียภาษี ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
                (1) อสังหาริมทรัพย์
                (2) หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                (3) เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนหรือ
           สิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
                (4) ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
                (5) ทรัพย์สินทางการเงินที่ก�าหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา ...
           44    ศิรินธร พาณิชย์กุล, ‘การจัดท�าประมาณการรายจ่ายแผ่นดินที่เป็นภาษีการบริโภค’ (วิทยานิพนธ์
           นิติศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556) 3.
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57