Page 51 - kpiebook65017
P. 51

50   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การคลังสาธารณะ


        ฐานภาษีหรือเพิ่มอัตราภาษีโดยอ้างกรณีเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและเป็นกรณีจ�าเป็น
        เร่งด่วนโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่มีบทบัญญัติ

        ที่รับรองหลักความชอบด้วยกฎหมายของภาษีไว้ จึงส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติ
        ตามรัฐธรรมนูญโดยตรงเพื่อใช้ในการตรวจสอบ ศาลรัฐธรรมนูญท�าได้แต่เพียงการพิจารณา

        วินิจฉัยประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติที่มีอยู่เท่านั้น ดังเช่นค�าวินิจฉัยของ
        ศาลรัฐธรรมนูญที่ 14/2546 และที่ 32/2548 กรณีพระราชก�าหนดแก้ไขเพิ่มเติม

        พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และพระราชก�าหนดแก้ไขเพิ่มเติม
        พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 กรณีดังกล่าวนอกจากจะเป็นการจ�ากัด

        อ�านาจของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นการจ�ากัดอ�านาจของรัฐสภาอีกด้วย กล่าวคือ
        ในการออกพระราชก�าหนดทางภาษี แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะก�าหนดให้คณะรัฐมนตรี

        ต้องเสนอพระราชก�าหนดต่อรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไปเพื่อให้รัฐสภาพิจารณา
        โดยไม่ชักช้า แต่ในการอนุมัติพระราชก�าหนดทางภาษีของรัฐสภานั้น สภาผู้แทนราษฎร

        และวุฒิสภาจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรือข้อความใด ๆ ได้เลย ท�าได้แต่เพียง
        อนุมัติหรือไม่อนุมัติทั้งฉบับเท่านั้น ซึ่งจะแตกต่างไปจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

        ที่สมาชิกรัฐสภาที่สามารถแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายได้ ซึ่งเป็นการควบคุม
        ตรวจสอบเนื้อหาทางกฎหมายภาษีที่มีผลต่อสิทธิทางทรัพย์สินของผู้เสียภาษีได้ดีกว่า

        การออกพระราชก�าหนดทางภาษี

               ประการที่สอง คือ การไม่บัญญัติรับรองหลักความยินยอมทางภาษีในรัฐธรรมนูญ

        ที่น�ามาสู่ปัญหาการออกกฎหมายล�าดับรองของฝ่ายบริหาร โดยอาศัยอ�านาจตาม
        บทบัญญัติของกฎหมายแม่บททางภาษีโดยก�าหนดไว้อย่างหลวม ๆ ไม่ชัดเจนมา

        บังคับจัดเก็บภาษีจากประชาชนในภายหลัง ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักความชัดเจนและ
        แน่นอนซึ่งเป็นหลักภาษีอากรที่ดี เช่น พระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56