Page 63 - kpiebook65017
P. 63
62 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาใช้ หากไม่ก�าหนดให้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้
โดยแสดงแหล่งที่มาของรายได้ ก็อาจส่งผลท�าให้เงินทุนส�ารองจ่ายนั้นลดน้อยลงและ
ขาดสภาพคล่องในอนาคต
ประการที่สาม การก�าหนดให้แสดงแหล่งที่มาของรายได้ซึ่งหมายถึงเฉพาะ
รายได้สาธารณะที่เป็นภาษีหรือไม่เป็นภาษี เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต หรือ
รายได้จากรัฐพาณิชย์ เป็นต้น เท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงเงินกู้ด้วย ซึ่งเป็นการป้องกัน
ไม่ให้รัฐบาลใช้วิธีการกู้เงินซึ่งเป็นการก่อหนี้สาธารณะเพื่อมาตั้งงบประมาณรายจ่าย
ชดใช้ อันเป็นการเพิ่มจ�านวนหนี้สาธารณะและเป็นการสร้างภาระทางการคลังเพิ่ม
อันจะท�าให้กระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
ประการสุดท้าย การก�าหนดให้ต้องแสดงแหล่งที่มาของรายได้ในการตั้ง
งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง นอกจากจะท�าให้รัฐสภาได้รับทราบที่มา
ของเงินที่น�ามาชดใช้เงินคงคลังแล้ว การแสดงแหล่งที่มาของรายได้ในร่างกฎหมาย
งบประมาณรายจ่าย ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะท�าให้ประชาชนในฐานะเจ้าของ
เงินแผ่นดินได้รับทราบและตระหนักถึงการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล อันเป็นไปตามหลัก
57
ความโปร่งใส และหลักการตรวจสอบได้ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ดีทางงบประมาณอีกด้วย
ผู้เขียนจึงเห็นว่า การที่มาตรา 140 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 ไม่ได้ก�าหนดให้การตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้ต้องแสดงแหล่งที่มา
ของรายได้เอาไว้ อีกทั้งเรื่องดังกล่าวนี้ก็ไม่ได้มีก�าหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวในพระราชบัญญัติ
วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แต่อย่างใด จึงเป็นช่องว่างของกฎหมายและ
ขาดมาตรการที่จะบังคับให้รัฐบาลจะรักษาวินัยทางการคลังในการน�าเงินมาชดใช้คืน
เงินคงคลังให้เงินคงคลังอยู่ระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพได้
57 OECD, Recommendation of the Council on Budgetary Governance (Paris: OECD
Publishing 2015) 7.