Page 67 - kpiebook65017
P. 67
66 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
(1) กำรตีควำมประเด็นบุคคลใดที่ต้องห้ำมตำมมำตรำ 144 วรรคสอง
ในประเด็นนี้ หากพิจารณาถึงกระบวนการทางบประมาณ จะเห็นได้ว่า
บทบัญญัติมาตรา 144 เป็นเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการนิติบัญญัติของร่างกฎหมาย
ว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กล่าวคือ มาตรา 143 เป็นบทบัญญัติที่ให้อ�านาจแก่
รัฐสภาในการอนุมัติร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายโดยก�าหนดกระบวนการ
นิติบัญญัติไว้เป็นพิเศษแตกต่างจากกกระบวนการนิติบัญญัติของร่างกฎหมายทั่วไป
ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 144 เป็นบทบัญญัติที่จ�ากัดอ�านาจของรัฐสภาในการอนุมัติ
ร่างกฎหมายงบประมาณ ดังนั้น เมื่อมาตรา 144 อยู่ในขั้นตอนของการอนุมัติ
งบประมาณแผ่นดินซึ่งเป็นอ�านาจของรัฐสภา จึงตีความได้ว่า มาตรา 144 วรรคสอง
มุ่งหมายที่จะห้ามบุคคลดังต่อไปนี้ ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
และกรรมาธิการไม่ให้กระท�าการด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนในการใช้งบประมาณรายจ่าย 62
(2) กำรตีควำมประเด็นลักษณะของกำรกระท�ำที่ต้องห้ำมตำมมำตรำ 144
วรรคสอง
จากปัญหาค�าว่า “การกระท�าด้วยประการใด ๆ” หมายถึง การกระท�า
ในลักษณะใดนั้น เมื่อบทบัญญัติมาตรา 144 วรรคสอง ซึ่งเป็นเรื่องการอนุมัติร่างกฎหมาย
ว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย ประกอบการพิจารณาถ้อยค�าแบบเทียบเคียง (Analogy)
ค�าว่า “การเสนอ” และ “การแปรญัตติ” ซึ่งเป็นถ้อยค�าในบทบัญญัติเดียวกัน จะเห็นได้ว่า
การเสนอและการแปรญัตติเป็นลักษณะการกระท�าทางนิติบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ
การพิจารณาและอนุมัติร่างกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย ดังนั้น การตีความค�าว่า
62 ดูประกอบ หนังสือที่ (รธน.) 546/2560 เรื่อง ความมุ่งหมายของมาตรา 144 วรรคสอง
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2560.