Page 23 - kpiebook65017
P. 23

22   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การคลังสาธารณะ


        กล่าวคือ การตรากฎหมายในการก�าหนดฐานภาษี อัตราภาษี และวิธีการจัดเก็บภาษี
        ทุกชนิดของประเทศฝรั่งเศส จ�าเป็นต้องได้รับความยินยอมจากรัฐสภาในรูปรัฐบัญญัติ

        เท่านั้น จะออกเป็นกฎหมายในรูปแบบอื่นไม่ได้ เนื่องจากทั้งสามเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ส�าคัญ
        และมีผลกระทบต่อภาระภาษีของผู้เสียภาษีอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากนี้

        เป็นอ�านาจของรัฐบาลในการตรากฎเกณฑ์ของฝ่ายบริหารได้ จะเห็นได้ว่า ระบบ
        การรับรองหลักความยินยอมทางภาษีของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะมีความเคร่งครัด

        น้อยกว่ากรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ ก็ด้วยประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่
        รัฐสภามีอ�านาจมากจนเกินไปในยุคสาธารณรัฐที่ 3 และ 4 ท�าให้ในยุคสาธารณรัฐที่ 5

        ซึ่งเป็นยุคปัจจุบันจึงวางอยู่บนระบบรัฐสภาแบบมีเหตุมีผลโดยการจ�ากัดอ�านาจของ
        รัฐสภาในบางเรื่องลงและให้อ�านาจแก่ฝ่ายบริหารมากขึ้น 15


               ส่วนประเทศอังกฤษนั้น แม้จะเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็น
                       16
        ลายลักษณ์อักษร  แต่อย่างไรก็ตาม หลักความยินยอมทางภาษีนั้นได้ปรากฏเป็น
        กฎหมายลายลักษณ์อักษรในอดีต (Magna Carta 1215 และ Bill of Right 1689)

        ซึ่งพัฒนาเป็นกฎหมายจารีตประเพณี และค�าพิพากษาของศาลเป็นบรรทัดฐาน
        ซึ่งมีสภาพบังคับในทางกฎหมายในปัจจุบัน 17



            ... – l’assiette, le taux et les modalités de recouvrement des impositions de
        toutes natures ; le régime d’émission de la monnaie...
        15    สุปรียา แก้วละเอียด, ‘การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของภาษีโดยองค์กรตุลาการ’
        (เชิงอรรถที่ 14) 848-849.
        16    สุรพล ราชภัณฑารักษ์ และพจนาลัย ไชยรังสี, การเมืองในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส
        (พิมพ์ครั้งที่ 2, ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามค�าแหง 2550) 157-161.
        17    นิพนธ์ โลหะกุลวิช, ‘ประวัติความเป็นมาและสาระส�าคัญของหลักการห้ามฝ่ายนิติบัญญัติ
        ริเริ่มก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินในสหราชอาณาจักร’ (2539) 1 วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
        ธรรมศาสตร์ 29, 30-32.
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28