Page 19 - kpiebook65017
P. 19

18   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การคลังสาธารณะ


               ด้วยความส�าคัญในการรักษาวินัยทางการคลังของรัฐบาลดังกล่าวข้างต้น
        หลายประเทศจึงมีการบัญญัติหน้าที่ในการรักษาวินัยทางการคลังของรัฐบาลในรัฐธรรมนูญ

        หรือกฎหมายเฉพาะ อาทิ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

        ของประเทศไทย Public Finance Act 2004 ของประเทศนิวซีแลนด์ The Charter
        Of Budget Honesty Act 1998 ของประเทศออสเตรเลีย และ Social and Fiscal
                                                         6
        Responsibility Law 2009 ของประเทศปานามา เป็นต้น   โดยมุ่งหมายให้รัฐบาล
        ต้องด�าเนินนโยบายหรือการด�าเนินการทางการคลังอย่างมีเหตุมีผล ท�าให้กลไก

        และกระบวนการทางการคลังมีความน่าเชื่อถือ โปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมทั้งเพื่อ
        รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสร้างความยั่งยืนทางการคลังของประเทศด้วย





        1.2 หลักความยินยอม



               หลักความยินยอมถือเป็นกรอบวินัยการคลังอย่างหนึ่ง ซึ่งความยินยอมในที่นี้
        หมายความรวมถึง ความยินยอมในการจัดเก็บภาษี (1.2.1) และความยินยอมใน
        การใช้จ่ายเงินแผ่นดิน (1.2.2) โดยหลักความยินยอมเป็นหลักกฎหมายที่มีความส�าคัญ

        ที่สุดในบรรดาหลักกฎหมายพื้นฐานทางการคลังทั้งหมด เนื่องจากเป็นหลักกฎหมาย

        ที่ถูกก�าหนดขึ้นเพื่อให้ความส�าคัญกับฉันทานุมัติของฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา
        ในงบประมาณของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล 7




        6   ภัทรวรินทร์ บุญชู, ‘ปัญหาการควบคุมตรวจสอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ ภายใต้รัฐธรรมนูญ
        แห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560’ (ดุษฎีนิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัย
        ธรรมศาสตร์ 2562) 82.
        7   อรพิน ผลสุวรรณ์ สบายรูป, กฎหมายการคลัง (พิมพ์ครั้งที่ 3, โรงพิมพ์เดือนตุลา 2557)
        145-146.
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24