Page 17 - kpiebook65017
P. 17
16 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
ในทางกลับกัน หากรัฐบาลเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย หรือก่อหนี้
สาธารณะจนเกินความสามารถที่จะช�าระหนี้ได้ รัฐบาลนั้นก็จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
1
ไม่มีวินัยทางการคลัง จากการศึกษาความหมายของวินัยทางการคลังนั้น เห็นว่า วินัย
ทางการคลังเป็นระเบียบแบบแผนที่ใช้ก�ากับการจัดการการคลังและงบประมาณแผ่นดิน
ของประเทศ ทั้งในเรื่องการใช้จ่ายของภาครัฐ การจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณอย่าง
เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การหารายได้ที่เพียงพอกับรายจ่าย การรักษาเงินคงคลัง
ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และการบริหารหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่สามารถใช้คืนได้
และไม่เป็นภาระต่องบประมาณในอนาคต 2
จากนิยามดังกล่าวข้างต้น “วินัยทางการคลัง” จึงมีความหมายครอบคลุม
มิติทางเศรษฐศาสตร์และมิติทางนิติศาสตร์ กล่าวคือ ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์
วินัยทางการคลัง คือ กรอบในการก�าหนดนโยบายหรือการด�าเนินการทางการคลัง
ในลักษณะของการก�าหนดเป้าหมายหรือตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาเสถียรภาพ
ทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนทางการคลัง อาทิ การรักษาดุลทางงบประมาณ
ที่จะต้องมีรายได้ที่เพียงพอต่อรายจ่าย ตลอดจนการก่อหนี้สาธารณะในระดับที่มี
ความสามารถใช้คืนได้ ในขณะที่มุมมองทางกฎหมาย วินัยทางการคลัง คือ กรอบวินัย
ทางการคลังที่กฎหมายก�าหนดให้ต้องปฏิบัติตามหรือเป็นกฎเกณฑ์ทางการคลังที่มี
สภาพบังคับเป็นกฎหมาย กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐต้องด�าเนินนโยบายหรือด�าเนินการ
ทางการคลังไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บรายได้ การใช้จ่าย หรือการก่อหนี้สาธารณะ
1 ส�านักนโยบายการคลัง ส�านักเศรษฐกิจการคลัง, ‘รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย
เรื่องการศึกษาวินัยทางการคลังของประเทศไทย (อดีตสู่ปัจจุบัน) และแนวทางในการสร้างเสริมวินัย
ทางการคลังตามหลักสากล’ (2551) 1.
2 ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล, การด�าเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคภายใต้บริบทกฎหมายการเงิน
การคลังใหม่: กรณีศึกษาช่วงวัฏจักรเศรษฐกิจขาลงและภาวะวิกฤตเศรษฐกิจของไทย (วิทยาลัย
การยุติธรรม ศาลยุติธรรม 2552) 68.