Page 13 - kpiebook65017
P. 13

12   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การคลังสาธารณะ







        ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจ ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

        ส่วนใหญ่จะก�าหนดหลักการที่ส�าคัญเกี่ยวกับการคลังสาธารณะเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ
        ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น ๆ ส�าหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่ง

        ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการคลังสาธารณะ
        เป็นการเฉพาะอยู่ในหลายส่วนด้วยกัน ได้แก่ หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 62 ก�าหนด

        หน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยทางการเงินการคลังโดยเคร่งครัด หมวด 7 รัฐสภา
        ส่วนที่ 4 บทบัญญัติที่ใช้แก่สภาทั้งสอง มาตรา 140 ถึง มาตรา 144  เป็นบทบัญญัติ

        เกี่ยวกับการตรากฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินแผ่นดิน
        และหมวด 12 ซึ่งก�าหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งมีสถานะ

        เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ท�าหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบการเงินแผ่นดิน
        อย่างไรก็ดี หลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวใช้บังคับมาระยะหนึ่งแล้ว เริ่มปรากฏ

        ให้เห็นข้อจ�ากัดบางประการของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการคลัง
        สาธารณะอันส่งผลต่อการใช้และการตีความรัฐธรรมนูญ


               รายงานวิชาการฉบับนี้จึงมุ่งหมายที่จะศึกษาข้อจ�ากัดทางกฎหมายของ
        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในประเด็นที่เกี่ยวกับบทบัญญัติ

        ตามมาตรา 140  ถึงมาตรา 144 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการตรากฎหมายงบ
        ประมาณรายจ่ายและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินแผ่นดิน เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา

        หลักกฎหมายการคลังที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญ
        ฉบับดังกล่าวต่อไปในอนาคต  โดยบทความนี้จะน�าเสนอผลการศึกษาใน 4 หัวข้อด้วยกัน

        เริ่มจากการอธิบายแนวความคิดพื้นฐานทางกฎหมายการคลังที่มีค่าบังคับในระดับ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18