Page 20 - kpiebook65017
P. 20
19
1.2.1 หลักความยินยอมทางภาษี
ภาษีเป็นเครื่องมือทางการคลังที่ส�าคัญของรัฐบาลที่รัฐใช้อ�านาจมหาชน
ในการบังคับจัดเก็บภาษีจากประชาชน เพื่อน�าไปใช้จ่ายในภาระสาธารณะโดยไม่มี
ผลตอบแทนโดยตรงเป็นการเฉพาะตัวแก่ผู้เสียภาษี ผลทางกฎหมายที่ส�าคัญของภาษี
คือ การจัดเก็บภาษีต้องอยู่ภายใต้หลักยินยอมทางภาษี หรือหลักไม่มีภาษีโดยไม่มี
ผู้แทน (No Taxation without Representation) ซึ่งก�าหนดให้การจัดเก็บภาษีจาก
ประชาชนต้องออกกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติซึ่งเป็นกฎหมายที่ผ่านการพิจารณา
และอนุมัติของรัฐสภาในฐานะที่เป็นผู้แทนประชาชน กล่าวอีกนัยหนึ่ง การจัดเก็บภาษี
จากประชาชน ต้องได้รับความยินยอมจากรัฐสภาผ่านการอนุมัติร่างกฎหมายภาษี
เสียก่อน รัฐบาลจึงจะมีอ�านาจในการจัดเก็บภาษีภายใต้กรอบกฎหมายนั้น ๆ เท่านั้น
จะใช้อ�านาจหรือดุลพินิจในการจัดเก็บภาษีหรือหารายได้เกินกว่าที่กฎหมายก�าหนดไว้
8
ไม่ได้ หรือจะยกเว้น-ลดหย่อนไม่เก็บภาษีแก่บุคคลใด หน่วยงานใดไม่ได้เช่นเดียวกัน
หลักยินยอมทางภาษีจึงเป็นหลักกฎหมายที่ส�าคัญอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นที่มาของ
ความชอบธรรมของรัฐในการใช้อ�านาจมหาชนในการบังคับจัดเก็บภาษี ขณะเดียวกัน
ก็เป็นหลักในการประกันสิทธิในทรัพย์สินของผู้เสียภาษี
ความส�าคัญของการก�าหนดให้ภาษีต้องอยู่ในแบบกฎหมายสืบเนื่องจากมาจาก
“ภาษี” เป็นเงินที่รัฐใช้อ�านาจมหาชนในการบังคับจัดเก็บจากประชาชน เพื่อใช้
ในการใช้จ่ายไปกับการจัดท�าบริการสาธารณะหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ท�าในหน้าที่ของรัฐ
ซึ่งผลตอบแทนที่ประชาชนจะได้รับจากการเสียภาษีอาจเป็นผลทางตรงหรือทางอ้อม
ก็ได้ ฉะนั้น รัฐจึงต้องบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับภาษี เพื่อขอความยินยอมจากรัฐสภา
ที่ประกอบขึ้นจากผู้แทนประชาชน ผ่านวิธีการอนุมัติกฎหมายภาษีเสียก่อน จึงจะ
8 จรัส สุวรรณมาลา, ประชาธิปไตยทางการคลังไทย (โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2558) 100-101.