Page 64 - kpiebook64015
P. 64

แจ้งหรือผลักดันในรัฐสภา แต่จะต้องทำหน้าที่กลั่นกรองและปรับปรุงขยายให้ข้อเรียกร้องซึ่งอาจจะเป็นผลประโยชน์

              เฉพาะของผู้คนในพื้นที่และเฉพาะในช่วงเวลาขณะนั้นให้กลายเป็นนโยบายที่ต้องกันกับผลประโยชน์สาธารณะใน
              ระยะยาวด้วย  ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้นอกจากจะต้องมีความรู้สติปัญญาวิจารณญาณวิสัยทัศน์ จำจะต้องมีความ

              เป็นอิสระอย่างยิ่ง ทั้งอิสระจากแรงกดดันของประชาชนที่ต้องการให้ข้อเรียกร้องเฉพาะของตนได้รับการตอบสนอง

              และที่สำคัญคือจะต้องมีความเป็นอิสระจากการถูกครอบงำใดๆ และจะเป็นเรื่องที่เสียหายอย่างยิ่งหาจะต้องอยู่
              ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ แม้ว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคของตนด้วยก็ตาม เพราะความเป็นอิสระของ

              ผู้แทนมีความสำคัญอย่างยิ่งถ้าเขามีจุดยืนที่ต่างจากหัวหน้าพรรค เขาก็จะต้องยืนหยัดที่จะต่อสู้เพื่อสิ่งที่เขาเชื่อมั่นได้

              และสำหรับรุสโซ แน่นอนว่า เขาปฏิเสธระบบการปกครองที่มีตัวแทนหรือระบบการมีตัวแทนอย่างชัดเจน  ด้วยแก่น
              สำคัญของทฤษฎีการเมืองของรุสโซที่ปรากฏใน Social Contract เขาปฏิเสธแนวคิดของโทมัส ฮอบส์ที่ว่า การออก

              กฎหมายของประชาชนสามารถให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกลุ่มบางกลุ่มหรือปัจเจกบุคคลบางคนได้ ที่จะสามารถ
              กระทำในนามของอำนาจประชาชนและมาปกครองเหนือประชาชน

                      รุสโซกลับเห็นว่า การส่งมอบสิทธิ์ทั่วไปในการปกครองตนเองของคนๆหนึ่งให้แก่คนอื่นหรือองค์กรหนึ่งใด

              จะกลายเป็นการสถาปนาระบบทาสขึ้นมา และการยอมรับอำนาจดังกล่าวนี้จะเท่ากับการสละความเป็นผู้กำหนด
              ในทางศีลธรรมของตัวเอง ไป และการเป็นปฏิปักษ์ต่อที่สภาที่รวมอำนาจสูงสุด ของรุสโซนั้นขยายรวมไปถึงการ

              เลือกตั้งตัวแทนเข้าสภาด้วย และแม้ว่าตัวแทนจะมีรวาระและต้องกลับมาผ่านการเลือกตั้งเป็นระยะๆก็ตาม เพราะ
              สภาจะออกกฎหมายที่มีประเด็นหลาก หลายที่พลเมืองที่เลือกพวกเขาเข้าไปไม่ได้รับรู้และไม่ได้ขบคิดไตร่ตรองเอง

              มาก่อน ดังนั้น กฎหมายต่างๆที่ผ่านสภาจะมีผลผูกมัดต่อประชาชนโดยที่ประชาชนไม่ได้เห็นด้วยและยินยอมมาก่อน

              และรุสโซเห็นว่า ไม่เพียงแต่ตัวแทนของอำนาจอธิปไตยจะสถาปนาการจำนนทางการเป็นผู้กระทำทางศีลธรรมของ
              ประชาชนแล้ว ความต้องการที่จะให้มีคนมาทำหน้าที่ปกครองแทนการที่ประชาชนจะปกครองตัวเองนั้นจะนำมาซึ่ง

                                                           107
              ความเสื่อมทางศีลธรรมและการสูญเสียคุณธรรมด้วย   ดังนั้น จะเห็นได้ว่า รุสโซจะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการ
              ตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนแต่ละคน และแน่นอนว่า ประชาชนพลเมืองแต่ละคนจะต้องมีความเป็นอิสระ
              และมีความเป็นตัวของตัวเองอย่างยิ่ง   และแน่นอนว่า ระบบตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งย่อมบดบังและบิดเบือน

              การตัดสินใจของประชาชน และไม่สามารถมาแทนการตัดสินใจของประชาชนได้  และหากว่า ตัวแทนหรือ ส.ส. ขาด

              ความเป็นอิสระและความเป็นตัวของตัวเองก็ยิ่งจะเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้หลายเท่า นอกเหนือจากการปฏิเสธระบบตัว
              แทนที่มีความอิสระและความเป็นตัวของตัวเองอยู่แล้ว  และแน่นอนว่า หากจะผู้แทนจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ







              107   https://plato.stanford.edu/entries/rousseau/#ReprGove   ส่วนข้อเขียนที่นำเสนอปัญหาเรื่องอำนาจตัดสินใจของ

              ประชาชนและระบบตัวแทนที่ไม่ได้จะลงตัวง่ายๆในทฤษฎีการเมืองของรุสโซ เพราะรุสโซเองก็เผชิญกับปัญหาในทางปฏิบัติในการให้
              ประชาชนมีอำนาจโดยตรง กับการเป็นตัวแทนที่เขาปฏิเสธ และเขาพยายามจะหาทางประนีประนอมปัญหาดังกล่าว แต่ไม่สำเร็จ ดู
              Richard Fralin, “The Evolution of Rousseau's View of Representative Government,” Political Theory, Vol. 6, No.
              4, Special Issue: Jean-Jacques Rousseau (Nov., 1978), pp. 517-536.






                                                            64
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69