Page 60 - kpiebook64015
P. 60

บทที่ 4


                       กฎหมายพรรคการเมืองและการควบคุมการเงินของพรรคการเมืองเปรียบเทียบ:

                                     ไทยกับราชอาณาจักรสวีเดน และสหราชอาณาจักร



                     จากกรณีของสหราชอาณาจักรที่ผู้วิจัยได้นำเสนอไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ก่อนหน้าที่จะมี PPERA 2000 ซึ่ง
              เป็นพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยพรรคการเมืองและกำหนดให้พรรคการเมืองต้องจดทะเบียนภายใต้พระราชบัญญัติ

              ดังกล่าวนี้  พรรคการเมืองอยู่ในสถานะของกลุ่มหรือสมาคมเอกชนอันมีจุดเริ่มต้นที่ย้อนกลับไปยาวนานใน
              ประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ ทั้งๆที่มีจุดเริ่มต้นเป็นกลุ่มการเมืองอย่างหลวมๆในการเลือกตั้งและในรัฐสภา

              กฎหมายที่ออกมาส่วนใหญ่ก็เน้นไปที่การควบคุมการใช้เงินในการหาเสียงของผู้สมัครมากกว่าจะเป็นการควบคุมตัว

              พรรคการเมือง ดังนั้น หากนักการเมืองที่เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งจะไปกู้เงินมาเพื่อการรณรงค์หาเสียงก็ย่อมจะกระทำ
              ได้ในลักษณะของการกู้ยืมเงินทั่วไป และไม่ว่าจะกู้มาจากแหล่งใด ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร สถาบันการเงินหรือเอกชน ก็

              ย่อมทำได้ และแน่นอนว่าการกู้ในเชิงพาณิชย์ที่มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราปกติหรือในอัตราพิเศษที่ต่ำกว่าปกติ
              หรือไม่มีดอกเบี้ยเลยก็เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ตามแต่คู่สัญญาเจ้าหนี้ลูกหนี้จะตกลงกัน เพียงแต่ไม่สามารถใช้

              เงินที่กู้มากระทำการทุจริตเลือกตั้งตามที่กฎหมายได้บัญญัติห้ามไว้ รวมทั้งจะต้องไม่ใช้เงินเกินขอบเขตในการรณรงค์

              หาเสียง และแน่นอนว่า นักการเมืองที่กู้เงินมาใช้ในกิจการทางการเมืองไม่จำเป็นต้องเปิดเผยการกู้ยืมเงินของเขา
              ขณะเดียวกัน เมื่อเขาได้รับเลือกตั้งและเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา และหากเขามีกระทำที่ส่อให้เห็นว่าใช้อำนาจหน้าที่

              ไปในทางมิชอบและขัดต่อผลประโยชน์สาธารณะแต่เอื้อประโยชน์เพื่อเป็นการตอบแทนแก่เจ้าหนี้  ก็ย่อมมี

              บทบัญญัติตามกฎหมายที่จะกล่าวหาและสอบสวนตัดสินลงโทษเขาได้  และแม้ว่าจะไม่สามารถเอาผิดเขาได้ เพราะ
              หลักฐานไม่เพียงพอหรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม  แต่ชื่อเสียงของเขาย่อมจะเป็นที่กังขาต่อสาธารณะ และประชาชนผู้มี

              สิทธิ์เลือกตั้งจะตัดสินเขาในการเลือกตั้งครั้งต่อไปเอง  และแน่นอนว่า การกู้เงินมาเพื่อลงสมัครแข่งขันทางการเมือง

              ย่อมนำไปสู่ข้อสงสัยว่า เขาจะเอาเงินที่ไหนมาใช้คืนเจ้าหนี้โดยเกิดกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนขึ้น (conflict of
              interest) จากรายงานของสถาบันนานาชาติเพื่อประชาธิปไตยและการช่วยเหลือส่งเสริมการเลือกตั้ง (IDEA,

              International Institute for Democracy and Electoral Assistance)  ได้กล่าวถึง กรณีที่ผู้สมัครจ่ายค่ารณรงค์
              หาเสียงเลือกตั้งด้วยเงินของตัวเองว่า  ในรายงานของประเทศแทนซาเนียปี ค.ศ. 2011 ได้ให้ข้อสังเกตว่า “พรรค

              การเมืองขนาดเล็กต้องเลือกผู้สมัครที่มีศักยภาพทางทุนทรัพย์ที่จะสามารถรณรงค์หาเสียงของตัวเองได้”   และใน
              รายงานอีกฉบับหนึ่งให้ข้อสังเกตถึงการที่ผู้สมัครแต่ละคน “ต้องเผชิญความเสี่ยงที่ตัวเองจะล้มละลายจากความ

              พยายามที่จะหาเงินมาเพื่อจะได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง”   ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 2007 ของประเทศเคนยา พบว่า

              “ผู้สมัครแข่งขันเลือกตั้งเป็นผู้แทนในสภาจำนวนมากต้องจ่ายเงินในการหาเสียงเอง เงินส่วนใหญ่มาจากแหล่งทุน
              ส่วนตัว อันได้แก่ จากการบริจาคจากญาติสนิทมิตรสหายและธุรกิจหลอกหลวงประชาชน (pyramid schemes)

              และการกู้ยืมจากสหกรณ์และบริษัทหลักทรัพย์ (savings credit and cooperative societies) ธนาคาร บริษัท

              ประกันภัยและแหล่งทุนธุรกิจส่วนตัว”    และรายงานฉบับเดียวกันนี้ได้กล่าวว่า โดยเฉลี่ย มีเพียงร้อยละ 5 ของการ






                                                            60
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65