Page 61 - kpiebook64015
P. 61

ใช้จ่ายของผู้สมัครที่ผู้สมัครได้รับจากพรรคการเมืองที่เขาสังกัด   ดังนั้น การต้องพึ่งพิงทุนส่วนตัวของผู้สมัคร (ไม่ว่า

              จะเป็นที่ตัวผู้สมัครเองมี หรือผู้สมัครสามารถระดมทุนผ่านการบริจาคหรือกู้ยืม) ทำให้ผู้สมัครที่มีฐานะร่ำรวย
              ได้เปรียบ และผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวหรือมีน้อยกว่าก็จะมีโอกาสน้อยที่พรรคจะเลือกหรือเสนอชื่อให้เป็นผู้สมัคร

              ของพรรค  คำถามคือ ทำไมคนถึงยอมที่จะเสียเงินจำนวนมากไปกับการลงแข่งขันเลือกตั้ง ?  หลังจากที่ได้ทบทวน

              ผลประโยชน์ที่เป็นไปได้ของเป็นการสมาชิกสภาในเคนยา  คำตอบ คือ “สำหรับผู้ที่ใช้เงินและได้เป็น ส.ส. ในสภา
              มันเป็นธุรกิจที่ดีเลย แต่สำหรับผู้แพ้เลือกตั้ง มันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการล้มละลาย”     นั่นคือ นักการเมืองที่
                                                                                       104
              แพ้เลือกตั้งต้องเสี่ยงกับการล้มละลาย ส่วนนักการเมืองที่ชนะเลือกตั้งเป็น ส.ส. ก็เสี่ยงต่อการใช้อำนาจหน้าที่ไป

              ในทางมิชอบเพื่อถอนทุนคืนสำหรับการแข่งขันเลือกตั้งคราวต่อไปหากเงินที่เขาใช้ไปนั้นเป็นเงินของเขาหรือ
              ครอบครัวของเขาเอง แต่หากมาจากการกู้ยืม เขาก็จะต้องเสี่ยงต่อการใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางมิชอบเพื่อถอนทุนมา

              ใช้หนี้ หรือไม่ก็ต้องเสี่ยงต่อการใช้อำนาจหน้าที่ไปเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าหนี้ โดยเฉพาะเจ้าหนี้ที่เป็นเอกชนที่ให้
              กู้ด้วยอัตราพิเศษต่ำกว่าการกู้เชิงพาณิชย์จากสถาบันการเงินทั่วไป หรือให้กู้โดยไม่มีดอกเบี้ยและระยะเวลาแน่นอน

              ของการชำระหนี้ ซึ่งการให้กู้ในลักษณะดังกล่าวนี้แทบจะไม่ต่างจากการรับบริจาคหรือการรับเป็นของกำนัล  ส.ส.

              ประเภทนี้ยากที่จะมีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนเท่ากับผลประโยชน์
              ของตัวเขาและเจ้าหนี้ที่แทบจะไม่ต่างจากผู้อุปถัมภ์หรือผู้มีบุญคุณ และหากยังจะไม่กล่าวถึงพระราชบัญญัติ

              PPERA 2000 ของสหราชอาณาจักร และพิจารณาพรรคการเมืองในสถานะของกลุ่มหรือสมาคมเอกชนภายใต้นิติ
              บุคคล นั่นคือ พรรคการเมืองสามารถทำธุรกรรมได้ไม่ต่างจากนิติบุคคลเอกชนทั่วไป  และถ้าเปลี่ยนจากนักการเมือง

              ที่เป็นปัจเจกบุคคลมาเป็นพรรคการเมืองที่ทำการกู้ยืมเงินได้   สิ่งที่เกิดขึ้นก็จะเป็นไปตามหลักกฎหมายที่ปรากฏใน

              ภาษาละติน   mutatis mutandis  นั่นคือ เพียงแต่เปลี่ยนคำบางคำ แต่ผลลัพธ์ก็ยังคงเดิม   หมายความว่า หาก
              พรรคการเมืองสามารถกู้เงินได้ไม่ต่างจากเอกชน “ไม่ว่าจะกู้มาจากแหล่งใด ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร สถาบันการเงิน

              หรือเอกชน ก็ย่อมทำได้ และแน่นอนว่าการกู้ในเชิงพาณิชย์ที่มีการคิดดอกเบี้ยในอัตราปกติหรือในอัตราพิเศษที่ต่ำ

              กว่าปกติ หรือไม่มีดอกเบี้ยเลยก็เป็นเรื่องที่สามารถกระทำได้ตามแต่คู่สัญญาเจ้าหนี้ลูกหนี้จะตกลงกัน เพียงแต่ไม่
              สามารถใช้เงินที่กู้มากระทำการทุจริตเลือกตั้งตามที่กฎหมายได้บัญญัติห้ามไว้ รวมทั้งจะต้องไม่ใช้เงินเกินขอบเขตใน

              การรณรงค์หาเสียง และแน่นอนว่า พรรคการเมืองที่กู้เงินมาใช้ในกิจการทางการเมืองไม่จำเป็นต้องเปิดเผยการกู้ยืม

              เงินของพรรค  ขณะเดียวกัน เมื่อพรรคได้รับเลือกตั้งและเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา และหากพรรคมีกระทำที่ส่อให้
              เห็นว่าใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางมิชอบและขัดต่อผลประโยชน์สาธารณะแต่เอื้อประโยชน์เพื่อเป็นการตอบแทนแก่

              เจ้าหนี้  ก็ย่อมมีบทบัญญัติตามกฎหมายที่จะกล่าวหาและสอบสวนตัดสินลงโทษพรรคได้  และแม้ว่าจะไม่สามารถ
              เอาผิดพรรคได้ เพราะหลักฐานไม่เพียงพอหรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม  แต่ชื่อเสียงของพรรคย่อมจะเป็นที่กังขาต่อ

              สาธารณะ และประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจะตัดสินพรรคในการเลือกตั้งครั้งต่อไปเอง  และแน่นอนว่า การกู้เงินมา



              104  Funding of Political Parties and Election Campaigns A Handbook on Political Finance,  Elin Falguera
              Samuel Jones Magnus Ohman, eds., International Institute for Democracy and Electoral Assistance  (IDEA),
              (Sweden: 2014), pp. 46-47.






                                                            61
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66