Page 69 - kpiebook64015
P. 69

การเมืองที่พึ่งพาการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐหรือที่เรียกว่า  “Cartel Party”  ทำให้พรรคการเมืองสร้าง

              ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาครัฐมากกว่าประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐอย่างต่อเนื่อง
              นอกจากนี้ เงินสนับสนุนพรรคการเมืองยังทำให้พรรคการเมืองไม่พยายามหารายได้เข้าพรรค แต่จะหัวงพึ่งเงิน

              สนับสนุนจากภาครัฐเท่านั้น พรรคการเมืองจึงอาจกลายเป็นองค์กรของรัฐมากกว่าองค์กรของประชาชน หรือเป็น

              ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ มีนักวิชาการแนะนำว่า เงินสนับสนุนพรรคการเมืองควรเป็นเพียงแค่รายได้
              ที่ช่วยสนับสนุนพรรคการเมืองส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ควรเป็นรายได้หลักของพรรค เงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่เริ่มมี

              การพัฒนาจากยุโรปตะวันตกกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อพรรคการเมืองในปัจจุบัน และแนวคิดเรื่องการจัดสรรเงิน

              สนับสนุนพรรคการเมืองดังกล่าวได้ขยายไปสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก    แต่ก็มีนักวิชาการที่เห็นแย้งว่า  การได้รับ
                                                                       114
              เงินสนับสนุนจากรัฐ ไม่ได้ทำให้พรรคการเมืองต้องกลายเป็นองค์กรของรัฐ  เพราะมีพรรคการเมืองที่ได้รับการ

              สนับสนุนเงินทุนจากรัฐ และยังสามารถคงความเป็นองค์กรเอกชน (private organization) ในกิจการภายในของ
              พรรคและไม่ได้เปิดให้มีการตรวจสอบจากภายนอกอย่างจริงจัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่า พรรคการเมืองถูกควบคุมโดยกฎหมาย

              มหาชนมากน้อยเพียงใด     แต่อย่างไรก็ตาม การจะจัดว่าพรรคการเมืองเป็นองค์กรเอกชนหรือมหาชนนั้นยังมี
                                   115
              ปัญหายุ่งยากมาก และยังคงเป็นเรื่องที่จะต้องถกเถียงกันต่อไปในหมู่นักรัฐศาสตร์และนักนิติศาสตร์ แต่ที่พอจะกล่าว
              ได้อย่างหนึ่งก็คือ หากในกรณีที่พรรคการเมืองได้รับเงินสนันสนุนจากรัฐเป็นจำนวนมากก็จะมีข้อผูกมัดเกี่ยวกับ

              กิจกรรมทางการเงินภายใต้กฎหมายมหาชนหรือพระราชบัญญัติพรรคการเมืองมากกว่ากรณีที่พรรคการเมืองได้รับ
              เงินสนับสนุนน้อยหรือไม่ได้รับเลย  อย่างในกรณีของประเทศไทย มีการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมืองที่เรียกว่า

              “เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง”  โดยมีหลักเกณฑ์การจัดสรรดังต่อไปนี้คือ

                     (1) เงินที่ได้รับจากกรมสรรพากรตามมาตรา 69  ที่มีผู้เสียภาษีเงินได้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแสดงเจตนาในแบบ
              แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ให้รัฐนำเงินที่ตนได้เสียภาษีไว้ไปอุดหนุนพรรคการเมืองที่ตนระบุ

              พรรคใดพรรคหนึ่งปีละห้าร้อยบาท

                     (2) ร้อยละ 40 ของวงเงินจัดสรรนอกจาก (1) ให้จัดสรรให้ตามจำนวนเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองที่พรรค
              การเมืองได้รับ โดยแต่ละพรรคการเมืองให้ได้รับตามอัตราส่วนระหว่างจำนวนเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองที่ทุกพรรค

              การเมืองได้รับรวมกันในปีที่ผ่านมาต่อจำนวนเงินค่าบำรุงที่พรรคการเมืองนั้น ๆ ได้รับมาในปีที่ผ่านมา แต่เงินที่

              จัดสรรให้ต้องไม่เกินเงินค่าบำรุงพรรคการเมืองที่พรรคการเมืองนั้นได้รับจากสมาชิกในปีที่ผ่านมา
                     (3) ร้อยละ 40 ของวงเงินจัดสรรนอกจาก (1) ให้จัดสรรให้ตามคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้รับจากการ

              เลือกตั้งทั่วไปสำหรับปีถัดจากปีที่มีการเลือกตั้งทั่วไป โดยแต่ละพรรคการเมืองให้ได้รับตามอัตราส่วนระหว่าง




              114  พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์, “การศึกษาเปรียบเทียบเงินสนับสนุนพรรคการเมืองในประเทศไทยและอินโดนีเซีย: นำไปสู่การพัฒนา

              พรรคการเมืองหรือคอร์รัปชั่น”  อ้างใน ว่าด้วย “ เงินอุดหนุนพรรคการเมือง: ไทย เทียบตัวอย่างจะๆกับอารยะประเทศ”  TCIJ 25
              ธ.ค. 2559 https://www.tcijthai.com/news/2016/25/scoop/6614
              115  Anika Gauja, Political Parties and Elections: Legislating for Representative Democracy, (London: Routledge,
              2010),  pp. 12-14.






                                                            69
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74