Page 23 - kpiebook64015
P. 23

Watt v. Ashan (2008)) จะส่งผลให้กฎหมายระบุว่าพรรคการเมืองมีหน้าที่ต้องทำตามธรรมนูญและข้อบังคับของ

              พรรค (ที่พรรคเป็นผู้ร่าง)  และทำให้พรรคการเมืองเป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้กฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ (anti-
              discrimination legislation) ก็ตาม   นอกจากนี้ Gauja ยังกล่าวถึงกฎหมายในมิติอื่น ๆ ที่แม้จะไม่ได้ออกมาเพื่อ
                                            31
              รับรองสถานะของพรรคการเมืองโดยตรง  แต่มีขึ้นเพื่อสร้างมาตรการบางอย่างในการควบคุมพฤติกรรมและการ

              ดำเนินการของพรรคการเมือง  เช่น  การควบคุมในมิติที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นในกระบวนการเลือกตั้ง
              ของสหราชอาณาจักรที่ปรากฏในกฎหมาย the Representation of the People Act 1883 (the Corrupt

              Practices Act 1883)  ซึ่งระบุรายละเอียดของการกระทำที่ถือเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่น  เช่น ข้อหาจ่ายสินบนจาก

              การมอบเงินหรือตำแหน่งให้เพื่อเป็นการตอบแทนให้กับบุคคลที่มาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่พรรคตน  หรือ
              ข้อหาซื้อเสียงด้วยการให้อามิสสินจ้างอื่น ๆ ที่กฎหมายระบุว่ายังรวมถึงการแจกอาหาร เครื่องดื่ม และการจัด

              มหรสพอีกด้วย  หรือข้อหาใช้อิทธิพลหรือกำลังในการข่มขู่ให้คนไปเลือกตั้งหรือไม่ไปเลือกตั้ง หรือแม้แต่จ่ายเงิน
              ให้กับผู้สมัครเพื่อให้ถอนตัวจากการเลือกตั้ง  ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำที่มีบทลงโทษทั้งที่เป็นโทษการ

              จำคุกหรือโทษปรับเงินทั้งสิ้น  เป็นต้น  หรือการควบคุมในมิติของการโฆษณาหาเสียงผ่านสื่อของพรรคการเมืองใน
                                      32
              อังกฤษที่ถูกควบคุมด้วยกฎหมาย Broadcasting Act 1990 ที่ระบุห้ามมิให้พรรคการเมืองใดใดทำการโฆษณาหา
                                                                                                           33
              เสียงในโทรทัศน์หรือวิทยุ  แต่สามารถซื้อโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์หรือแผ่นป้ายโฆษณาตามสถานที่ต่าง ๆ ได้
              เป็นต้น
                     สุดท้าย Gauja กล่าวถึงประเด็นเรื่องการออกกฎหมายหรือมาตรการเพื่อควบคุมการระดมและใช้จ่ายเงิน

              ของพรรคการเมือง  ซึ่งประกอบด้วยกรณีของการออกกฎหมายจ่ายเงินอุดหนุนพรรคการเมืองในการหาเสียง

              เลือกตั้ง  ซึ่งในกรณีของสหราชอาณาจักร แม้จะมีการอภิปรายโต้เถียงในรัฐสภาเป็นจำนวนหลายครั้ง  แต่กฎหมาย
              ดังกล่าวได้ถูกตีตกไปโดยตลอด ดังนั้นการดำเนินกิจกรรมหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองในสหราชอาณาจักรจึง

              ดำเนินไปโดยปราศจากเงินช่วยเหลืออุดหนุนใดๆจากภาครัฐ เช่นเดียวกันกับที่ปรากฏในนิวซีแลนด์  แม้ว่ากฎหมาย

              Political Parties, Elections and Referendums Act 2000  จะอำนวยสิทธิประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างใน
              ระหว่างหาเสียงให้กับผู้สมัครของพรรคการเมืองก็ตาม เช่น อนุญาตให้เข้าใช้สถานที่ราชการเพื่อการหาเสียงได้ฟรี

              หรืออนุญาตให้พรรคการเมืองหาเสียงผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียงได้อย่างเท่าเทียมกันตามที่ถูกแบ่งสรรให้

                                     34
              โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น   และในมิติสุดท้าย คือเรื่องการระดมทุนและการใช้จ่ายเงินที่ได้จากการระดมทุนของ
              พรรคการเมือง เพราะก่อนหน้าปี ค.ศ. 2000  มาตรการเดียวที่บังคับใช้คือการควบคุมเพดานค่าใช้จ่ายในการหา

              เสียงของผู้สมัครแต่ละคน  แม้กฎหมายจะยังมีช่องโหว่จากการไม่ได้กำหนดเพดานค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองแต่
              ละพรรคด้วยก็ตาม  ดังนั้น  หลังจากการมีประกาศใช้  Political Parties, Elections and Referendums Act




              31  Gauja, Political Parties and Elections, 103-104.
              32  Ibid., 128.
              33  Ibid., 132.
              34  Ibid., 153.






                                                            23
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28