Page 20 - kpiebook64015
P. 20
มักเป็นไปในลักษณะของมาตรการที่มุ่งบังคับใช้กับการแข่งขันของผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนหรือระดับปัจเจก
18
บุคคลในระดับเขตเลือกตั้งมากกว่าที่จะเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อควบคุมการแข่งขันของพรรคการเมืองในระดับชาติ
กรณีสหราชอาณาจักร
กฎหมายที่เป็นจุดเปลี่ยนเกี่ยวกับพรรคการเมืองและการควบคุมพรรคการเมือง ในกรณีของสหราช
อาณาจักร คือ Representation of the People Act 1918 ที่ขยายสิทธิ์เลือกตั้งและกำหนดเขตเลือกตั้งใหม่อันมี
ผลต่อการเติบโตของกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองในขณะนั้น และพระราชบัญญัติที่ตามมาทีหลังที่สุดในบรรดา
ประเทศที่กล่าวถึงข้างต้น คือ Parliament Acts, Political Parties, Elections and Referendums Act 2000
(หรือที่เรียกว่ากฎหมาย PPERA) ของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่มีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากส
หราชอาณาจักรคือประเทศที่เป็นต้นทางของตัวแบบการปกครองให้กับประเทศอื่นๆที่กล่าวไปข้างต้น แต่กลับ
กลายเป็นว่า สหราชอาณาจักรมีพัฒนาการที่ช้าที่สุดในการออกกฎหมายรับรองสถานะและควบคุมการดำเนิน
19
กิจกรรมของพรรคการเมืองในบรรดาประเทศข้างต้น
พัฒนาการของการออกกฎหมายรับรองสถานะพรรคการเมืองในสหราชอาณาจักร เริ่มก่อตัวขึ้นในปี ค.ศ.
1937 เมื่อรัฐสภาออกกฎหมายที่เรียกว่า the Minister of the Crown Act เพื่อให้เงินเดือนผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภา
หัวหน้าวิปฝ่ายค้าน รวมถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ซึ่ง Bogdanor ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐธรรมนูญของบริเตน
เห็นว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นการยอมรับโดยนัยเป็นครั้งแรกว่าสภาสามัญของอังกฤษประกอบไปด้วยพรรค
การเมือง นั่นคือ พรรครัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้าน มิใช่สมาชิกรัฐสภาในฐานะเพียงปัจเจกบุคคล และถือเป็นครั้งแรกที่
กฎหมายในสหาราชอาณาจักรที่ตราขึ้นโดยรัฐสภามีการระบุถึงการดำรงอยู่ของพรรคการเมืองในเนื้อหาอย่างชัดเจน
20 พัฒนาการรับรองสถานะของพรรคการเมืองโดยกฎหมายของสหราชอาณาจักรได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งในปี ค.ศ.
1969 จากการที่รัฐสภาตรากฎหมาย the Representation of the People Act ซึ่งกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ในเขตต่างๆสามารถระบุชื่อพรรคการเมืองที่ตนสังกัดลงไปในบัตรเลือกตั้งได้ นั่นคือ พระราชบัญญัติฉบับนี้อนุญาต
ให้พิมพ์ชื่อพรรคลงไปในบัตรเลือกตั้ง หากผู้สมัครผู้นั้นมีความประสงค์จะแสดงตนว่าลงแข่งขันในนามของพรรค
21
แม้ตัวกฎหมายจะยังไม่ได้มีเนื้อหารับรองการดำรงอยู่อย่างพรรคการเมืองอย่างชัดเจน เนื่องจากถูกต่อต้าน
โดยพรรคอนุรักษ์นิยมในรัฐสภา ด้วยเหตุผลที่ว่าการมีกฎหมายพรรคการเมืองอาจจะไม่สอดคล้องกับโครงสร้างของ
22
พรรคและทำให้การปฏิบัติงานของพรรคในแต่ละเขตเลือกตั้งกระทำได้ยากขึ้น และสาเหตุประการหนึ่งที่ผู้วิจัย
ค้นพบเกี่ยวกับเหตุผลที่นักการเมืองพรรคอนุรักษ์นิยมในขณะนั้นไม่ต้องการให้มีกฎหมายพรรคการเมือง เพราะการ
แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคของพรรคอนุรักษ์นิยมที่ผ่านมาจนถึง ณ เวลานั้น เกิดขึ้นในลักษณะที่ไม่
18 Anika Gauja, Political Parties and Elections: legislating for representative democracy (London: Routledge,
2010), 2.
19 Ibid., 18.
20 Bogdanor, “The constitution and the Party system,” 724.
21 Ibid., 726.
22 Ibid., 726. Bogdanor, “The constitution and the Party system,” 726.
20