Page 21 - kpiebook64015
P. 21

เป็นทางการ แม้ว่าจะมีการตั้งคำถามเกิดขึ้นภายในพรรคมากมายต่อการแต่งตั้งนายดักกลาส-โฮม (Douglas-

              Home) ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคต่อจากนายกฮาโรลด์ แมคมิลแลนที่ลาออกในปี ค.ศ. 1963 ก็ตาม เพราะอย่างไรก็ดี
              วิธีการได้มาซึ่งหัวหน้าพรรคของพรรคอนุรักษ์นิยมที่มักเป็นไปอย่างไม่เป็นทางการและเป็นระบบที่เป็นความลับ

              (secretive system) ทำให้การต่อสู้ที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรงภายในพรรคไม่เป็นที่รับรู้แก่สาธารณ
                                                                                             23
                     ซึ่งหากมีกฎหมายพรรคการเมือง และจะต้องมีกฎข้อบังคับและให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการเลือก
              หัวหน้าพรรค แม้ว่าจะมีข้อดีดังที่ได้กล่าวไปในส่วนข้างต้นของงานวิจัยเกี่ยวกับไพรมารีโหวตและหลักการการ

              ปกครองแบบผสม แต่ข้อเสียก็มีที่อาจนำซึ่งความแตกแยกภายในพรรคก็เป็นได้ หรือถ้าไม่ถึงกับแตกแยก พรรคก็

              อาจจะเสียบุคคลระดับที่มีคุณสมบัติที่แข่งขันในตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปได้  นั่นคือ ผู้ที่พ่ายแพ้อาจจะลาออกไปอยู่
              พรรคอื่น หรือตั้งพรรคใหม่ โดยนำสมาชิกพรรคในฝ่ายตนออกไปด้วย หากมีประเด็นเรื่องการเสียหน้าเกิดขึ้น

              นอกจากนี้  กฎหมายพรรคการเมืองอาจจะทำให้สมาชิกพรรคมีบทบาทสำคัญขึ้นมา และจะทำให้หัวหน้าพรรคหรือ
              บุคคลระดับนำของพรรคต้องให้ความสำคัญกับสมาชิกพรรค ในขณะที่ที่ผ่านมาและในช่วงเวลานั้น หัวหน้าและ

              บุคคลระดับนำของพรรคอนุรักษ์นิยมจะนิยมใช้วิธีการหาเสียงอย่างที่เคยทำกันมา (conventional wisdom) นั่น

              คือ หาเสียงสนับสนุนจากนักวิชาการ ผู้สื่อข่าวการเมือง และนักเคลื่อนไหวที่นิยมแนวคิดอนุรักษ์นิยม (แต่ทั้งหมดนี้
              ไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรค/ผู้วิจัย)  ซึ่งมีความสำคัญในแง่ของคะแนนเสียงทั่วไปในวงกว้างมากกว่าสมาชิกพรรค

              โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกพรรคที่แข็งขันเป็นพิเศษ (party activists) ที่แม้ว่าข้อเสนอของสมาชิกเหล่านี้จะไม่ใช่ไม่มี
                                                                                                           24
              ความสำคัญ แต่มักจะไม่สอดคล้องกับจารีตของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยม (traditional Conservatism) ด้วยซ้ำ
              นอกจากนี้ ในมุมกลับ ในรัฐสภา ยังมีฝ่ายต่อต้านการออกกฎหมายพรรคการเมืองด้วยเหตุผลที่ว่า กฎหมายพรรค

              การเมืองอาจให้อำนาจเจ้าของพรรคการเมืองมีอำนาจในการตัดสินใจเหนือผู้สมัคร โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ
              หรือข้ออ้าง
                        25
                     หลังจากนั้น  แม้จะมีคณะกรรมาธิการของรัฐสภาจำนวนหลายชุดที่ตระหนักถึงความสำคัญของพรรค

              การเมือง เช่นกรรมาธิการ Committee on Financial Aid to Political Parties (1776) รวมถึงรายงานที่เรียกว่า
              Kilbrandon report, Cmnd 4460-I (1973) ที่ระบุว่า ในการปฏิรูปโครงสร้างระบอบการเมืองของสหราช

              อาณาจักรต้องพิจารณาไปที่พรรคการเมืองเป็นสำคัญ ในฐานะที่พรรคการเมืองเป็น “แรงขับเคลื่อนหลักของสถาบัน

              ทางการเมือง” ที่ทำให้ต่อมาในปี ค.ศ. 1975 รัฐสภาได้ตัดสินใจจ่ายเงินอุดหนุน (short money) ให้แก่พรรคฝ่าย
              ค้านทุกพรรคที่มี สส. ตั้งแต่สองคนขึ้นไปและได้รับคะแนนเสียงจากทั้งประเทศรวมกันมากกว่า 150,000 เสียง เพื่อ

              สนับสนุนการทำหน้าที่ในรัฐสภาของสมาชิกสภาฝ่ายค้านทุกพรรคที่ผ่านเงื่อนไขดังกล่าว  แต่กระนั้นก็ยังไม่มี
              มาตรการทางกฎหมายใดใดของรัฐสภาที่จะถือเป็นการรองรับสถานะทางกฎหมายของพรรคการเมืองอย่างชัดเจน




              23  Justin Fisher, British Political Parties, (Hertfordshire: Prentice Hall Europe: 1996), p. 39.
              24   Paul  Whiteley,  Patrick  Seyd  and  Jeremy  Richardson,  True  Blue:   The  Politics  of  Conservative  Party
              Membership, (Oxford: Clarendon Press: 1994), p. 31.
              25  Ibid., 726.






                                                            21
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26