Page 16 - kpiebook64015
P. 16

ถ้าย้อนกลับไปพิจารณาความเป็นมาของพระราชบัญญัติพรรคการเมืองที่ผู้วิจัยได้นำเสนอไปในตอนต้นๆ

              จะพบว่า ประเด็นสำคัญในการอภิปรายโต้แย้งในการกำหนดให้พรรคการเมืองมีสถานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ใน
              พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับผิดทางอาญาและการควบคุมเรื่องการเงินของ

              พรรคการเมืองในกรณีที่ยุบเลิกพรรคการเมือง ทรัพย์สินจะต้องตกเป็นของรัฐ ไม่ใช่ให้แบ่งกันในหมู่สมาชิกพรรค

              และผลที่ออกมาก็คือ ภายใต้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 พรรคการเมืองไม่มีสถานะนิติบุคคล แต่
              ‘สามารถเป็นโจทย์หรือจำเลยทางแพ่งในศาลได้ในนามของพรรคการเมืองเองโดยมีหัวหน้าพรรคเป็นผู้ดำเนินการ

              แทน’   ได้” ดังที่กล่าวไปแล้ว  และหลังจากพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498  พระราชบัญญัติพรรค

              การเมืองทุกฉบับได้กำหนดให้พรรคการเมืองมีสถานะเป็นนิติบุคคล แต่ไม่มีการอภิปรายให้เหตุผลใดๆว่า ด้วยสาเหตุ
              และประโยชน์ต่อสาธารณะอันใดที่พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล  ดังนั้น จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ในการกำหนดให้

              พรรคการเมืองมีสถานะนิติบุคคลในพระราชบัญญัติพรรคการเมืองทุกฉบับหลังฉบับ พ.ศ. 2498 น่าจะเพื่อประเด็น
              การรับผิดทางอาญาและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของพรรค แต่มิได้หมายความว่า พรรคการเมืองจะ

              เป็นนิติบุคคลที่สามารถทำธุรกรรมได้ไม่ต่างจากสมาคมเอกชนทั่วไป  เพราะตั้งแต่การอภิปรายพิจารณาการออก

              พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 ก็มีความชัดเจนในเจตนารมณ์อยู่แล้วว่า พรรคการเมืองจะไม่อยู่ภายใต้
              กฎหมายว่าด้วยสมาคม ซึ่งไม่ต่างจากกรณีของสหราชอาณาจักรที่แม้ว่า พรรคการเมืองจะยังมีสถานะนิติบุคคล

              อย่างสมาคมทั่วไป แต่ก็ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสมาคมในกรณีของการทำธุรกรรมการเงิน และ
              พัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองสหราชอาณาจักรก็มีความชัดเจนว่า จุดมุ่งหมายของการควบคุม

              การเงินของพรรคเพื่อป้องกันการทุจริตและการรวมศูนย์อำนาจภายในพรรค กระนั้นก็ดี เนื่องจากผู้วิจัยมิใช่

              ผู้เชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ จึงไม่สามารถตัดสินวิเคราะห์ในเชิงนิติศาสตร์ต่อข้อถกเถียงที่ว่า พรรคการเมืองไทยมี
              สถานะไม่ต่างจากกลุ่มสมาคมเอกชนทั่วไปจึงอยู่ภายใต้สถานะของนิติบุคคลเอกชน  หรือไม่อยู่ภายใต้กฎหมาย

              ว่าด้วยสมาคม แต่เป็นอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง  แต่ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นนักรัฐศาสตร์ จึงจะขอ

              ตัดสินวิเคราะห์กรณีดังกล่าวนี้ในเชิงรัฐศาสตร์ ดังที่จะใช้พัฒนาการทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการกฎหมาย
              เกี่ยวกับพรรคการเมืองและกฎหมายพรรคการเมืองของต่างประเทศ โดยเฉพาะสหราชอาณาจักรและสวีเดนเป็น

              กรอบในการวิเคราะห์

                     กรณีศึกษา : กฎหมายการเงินของพรรคการเมืองและกรณียุบพรรคอนาคตใหม่
                     กรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ จากกรณีการกู้เงินหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 21

              กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563   ได้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงในทางวิชาการ โดยเฉพาะข้อโต้แย้งจากคณาจารย์นิติศาสตร์
              มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   อีกทั้งยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยต่อคำวินิจฉัยดังกล่าว โดยเห็นว่าศาล

              รัฐธรรมนูญตัดสินวินิจฉัยภายใต้อำนาจอิทธิพลทางการเมืองที่ต้องการจะกำจัดพรรคอนาคตใหม่ในฐานะที่เป็นคู่แข่ง
              ทางการเมืองที่กำลังเติบโตและได้รับกระแสนิยม ดังที่มีการแชร์กันอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย

                     ก่อนที่จะวิเคราะห์กรณีการยุบพรรคอนาคตใหม่ภายใต้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก็ดี และข้อโต้แย้งทาง

              วิชาการของคณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ดี  ผู้วิจัยเห็นสมควรที่จะนำเสนอภาพรวมของ








                                                            16
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21