Page 13 - kpiebook64015
P. 13

มีบรรทัดฐานที่แตกต่างกัน แต่เป้าหมายสำคัญร่วมกันคือการขจัดการทุจริตและการรวมศูนย์อำนาจในการเมือง

              ภายในพรรคการเมือง (corruption and centralization in party politics)    ที่เป็นหัวใจสำคัญของการเมืองใน
                                                                               3
              ระบอบประชาธิปไตย  แต่ดูเหมือนว่า “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”  จะไม่ได้กล่าวหรือให้

              ความสำคัญกับหลักการทางรัฐศาสตร์เท่ากับการตีความกฎหมายตามขอบเขตทางนิติศาสตร์และตามลายลักษณ์

              อักษร และดูจะละเลยเจตนารมณ์ของกฎหมายที่อยู่ภายใต้บรรทัดฐาน (normative) ในเรื่องความเป็นอิสรเสรีและ
              ความเป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย  เพราะถ้าศึกษาการออกกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองในต่างประเทศจะพบว่า

                            “แบบแผนพื้นฐานในการออกกฎหมายควบคุมพรรคการเมือง

                     ในออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักรและสหรัฐ
                     อเมริกาที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาเป็นแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น

                     เรื่อยๆ ที่มุ่งสู่การจัดระเบียบควบคุมกิจกรรมต่างๆของพรรคการเมือง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน
              และรองลงมาคือ การตัดสินใจ “ที่สำคัญ” ภายในพรรค เช่น การเลือกบุคคล (candidates)ให้ดำรงตำแหน่งทาง

              การเมือง ส่วนหนึ่ง การควบคุมดังกล่าวเกิดจากความปรารถนาที่จะกำจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นและการรวม

                                                                                                          4
              ศูนย์อำนาจในการเมืองภายในพรรคและเพื่อสร้างพื้นที่ที่เสรีและเท่าเทียมให้แก่ผู้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทุกคน”
                     ต่อมาคือ “3. พิจารณาจากกิจกรรมที่นิติบุคคลนั้นดำเนินการว่ากิจกรรมที่ทำเป็นเรื่องการจัดทำบริการ

              สาธารณะหรือไม่ โดยที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะเป็นนิติบุคคลที่ใช้อำนาจมหาชนได้นั้นจะต้องเข้าองค์ประกอบ
              ครบถ้วนทั้งสามประการ”  นั่นคือ

                     1. กฎหมายบัญญัติให้พรรคการเมืองสามารถใช้อำนาจมหาชน หรือ ใช้อำนาจรัฐในลักษณะที่มีอำนาจเหนือ

              หรือ อำนาจฝ่ายเดียว
                     2. พรรคการเมืองทั้งหลายมีอำนาจหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ หรือ อำนาจมหาชนโดยตรง

                     3.   พรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง

                     และ “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”  ได้ตอบไปแล้วว่า พระราชบัญญัติพรรคการเมือง
              พ.ศ. 2560 ไม่ได้บัญญัติให้ “พรรคการเมืองสามารถใช้อำนาจมหาชน หรือ ใช้อำนาจรัฐในลักษณะที่มีอำนาจเหนือ



              3  Anika Gauja,  Political Parties and Elections: legislating for representative democracy. (London:  Routledge,
                   2010), p. 205.
              4  “The basic pattern that has emerged in all of these democracies (Australia, Canada, New Zealand, the United

                   Kingdom and the United States) over the last century is an increasing trend towards the regulation of
                   parties’   activities, particularly with respect to their financial affairs and, to a lesser extent, how they
                   make  ‘ important’   internal  decisions,  such  as  choosing  candidates  for  public  offices.    In  part,  this

                   regulation has been driven by a desire to eliminate corruption and centralization in party politics, and
                   create a fair and equal playing fields for all electoral participants.”  Anika Gauja,  Political Parties and
                   Elections: legislating for representative democracy. (London:  Routledge, 2010), p. 205.







                                                            13
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18