Page 12 - kpiebook64015
P. 12

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร

              เยอรมนี หรือฝรั่งเศส พรรคการเมืองทั้งหลายต่างมีสถานะเป็นเพียงนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนทั้งสิ้น
                     กล่าวโดยสรุป คณาจารย์นิติศาสตร์เห็นว่านิติบุคคลมหาชนจะต้องจัดตั้งขึ้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

              เท่านั้น ดังนั้น พรรคการเมืองซึ่งต้องขออนุญาตจดทะเบียนจัดตั้ง และต้องได้รับอนุญาตให้จัดตั้งจากนายทะเบียน

              พรรคการเมือง จึงไม่อาจและจะต้องไม่เป็นนิติบุคคลมหาชน ดุจเดียวกับสมาคม มูลนิธิ หรือ แม้แต่บริษัทมหาชน
              จำกัด หรือ บริษัทรัฐวิสาหกิจที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือถือหุ้นข้างมาก ซึ่งล้วนแต่มีสถานะทางกฎหมายเป็นนิติ

              บุคคลตามกฎหมายเอกชน ทั้งตามหลักทฤษฎีทางกฎหมาย และตามแนวคำพิพากษาของศาลฎีกา และศาลปกครอง

              สูงสุดที่วางบรรทัดฐานตลอดมาในระบบกฎหมายไทย โดยสอดคล้องหลักกฎหมายที่เป็นสากลทั่วโลก”
                     ต่อการอธิบายและให้เหตุผลของ “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ข้างต้นนั้น ผู้วิจัยมี

              ข้อสังเกตว่า จากเกณฑ์ข้อแรกที่ว่า “1. พิจารณาจากกฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นว่าจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมหาชน
              ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ ?”

                     คำตอบคือ ใช่  การจะจัดตั้งพรรคการเมืองตามกฎหมายจะต้องจดทะเบียนตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติ

              พรรคการเมือง ที่เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2498 จนถึงพระราชบัญญัติพรรคการเมืองฉบับปัจจุบัน พ.ศ. 2560
                     ต่อมาคือ “2. พิจารณาจากอำนาจที่องค์กรนั้นใช้ว่าองค์กรนั้นใช้อำนาจมหาชนในลักษณะที่มีอำนาจเหนือ

              หรือ อำนาจฝ่ายเดียวหรือไม่ ?”  โดย  “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”  ได้ตอบเกณฑ์ข้อ 2 นี้ไว้
              ว่า

                     “กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้พรรคการเมืองสามารถใช้อำนาจมหาชน หรือ ใช้อำนาจรัฐในลักษณะที่มีอำนาจ

              เหนือ หรือ อำนาจฝ่ายเดียวแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว กลับมีเนื้อหาเป็นการ
              ควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพียงเท่านั้น ใน

              ทำนองเดียวกันกับพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ที่ควบคุมการดำเนินการของบริษัทมหาชน

              พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดไม่ได้ให้อำนาจมหาชน หรือ อำนาจรัฐแก่บริษัทมหาชนแต่อย่างใด”
                     ผู้วิจัยเห็นด้วยกับข้อความข้างต้นที่ว่า “กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้พรรคการเมืองสามารถใช้อำนาจมหาชน

              หรือ ใช้อำนาจรัฐในลักษณะที่มีอำนาจเหนือ หรือ อำนาจฝ่ายเดียวแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามพระราชบัญญัติ

              ฉบับดังกล่าว กลับมีเนื้อหาเป็นการควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองให้เป็นไปตาม
              รัฐธรรมนูญและกฎหมายเพียงเท่านั้นในทำนองเดียวกันกับพระราช บัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ที่

              ควบคุมการดำเนินการของบริษัทมหาชน พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดไม่ได้ให้อำนาจมหาชน หรือ อำนาจรัฐ
              แก่บริษัทมหาชนแต่อย่างใด ”

                     แต่ผู้วิจัยมีความเห็นว่า พระราชบัญญัติพรรคการเมือง มิได้มีวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาเพียงแต่ควบคุมการ
              ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ยังควบคุมเรื่องการเงินของพรรคให้เป็นตามรัฐธรรมนูญ

              และกฎหมายและเนื้อหาสาระของพระราชบัญญัติพรรคการเมืองนั้นๆด้วย ดังที่ผู้วิจัยได้อธิบายขยายความถึง

              พัฒนาการกฎหมายพรรคการเมืองของสหราชอาณาจักรและบางประเทศข้างต้น นั่นคือ แม้ว่าแต่ละประเทศอาจจะ








                                                            12
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17