Page 14 - kpiebook64015
P. 14
หรือ อำนาจฝ่ายเดียว” และไม่ได้บัญญัติให้ “พรรคการเมืองทั้งหลายมีอำนาจหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ หรือ อำนาจ
มหาชนโดยตรง” และก็ไม่ได้บัญญัติให้ “พรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง”
และ “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ได้อธิบายต่อว่า พรรคการเมือง “ทำหน้าที่เพียง
รวบรวมและก่อตั้งเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เพื่อให้มีโอกาสในการเข้าไปใช้อำนาจรัฐ หรือ อำนาจมหาชน
ต่อไปเท่านั้น” และ “เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่เสนอนโยบายและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อแสวงหาโอกาสในการ
ได้รับการเลือกตั้งเท่านั้น และเมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้ว ผู้ได้รับการเลือกตั้งจึงจะมีโอกาสเข้าไปใช้อำนาจในการ
จัดทำบริการสาธารณะอีกทอดหนึ่ง” ซึ่งผู้วิจัยก็เห็นด้วยกับเหตุผลและคำอธิบายของ “คณาจารย์นิติศาสตร์
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์” ข้างต้น และจากฐานคำอธิบายดังกล่าวนี้เองที่ “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์” นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า “พรรคการเมืองไม่ใช่นิติบุคคลที่ใช้อำนาจมหาชน จึงสามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมี
กฎหมายให้อำนาจ” และเมื่อพรรคการเมืองสามารถกู้ยืมได้ และหากการกู้เงินนั้นจะมีการคิดอัตราดอกเบี้ยและเบี้ย
ปรับน้อยกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น เป็นการคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ไม่เป็นไปตามธุรกิจทางการค้าถือ “เป็น
เสรีภาพโดยแท้ของเจ้าหนี้และคู่สัญญาการที่เจ้าหนี้ตกลงไม่คิดดอกเบี้ยเลย หรือ คิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำ เป็นแต่เพียง
การที่เจ้าหนี้ไม่ประสงค์จะเรียกค่าตอบแทนจากการให้กู้ยืม หรือ ค่าเสียโอกาสในการหาประโยชน์จากเงิน แต่ไม่ทำ
ให้เจ้าหนี้สูญเสีย หรือ เสียหายในทางทรัพย์สิน การไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
5
ทางการค้าแต่อย่างใด” “ดังจะเห็นได้จากการที่มาตรา 7 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ในกรณีที่มีการตกลงคิดดอกเบี้ยในหนี้เงิน แต่ไม่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ นั่น
หมายความว่า ถ้าคู่สัญญาตกลงไม่คิดดอกเบี้ยเลย หรือ คิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าร้อยละ 7.5 กฎหมายก็ไม่เข้าไป
แทรกแซง และปล่อยให้เป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญา มาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็น
เครื่องยืนยันว่า การไม่คิดอัตราดอกเบี้ย หรือ คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็น
6
เรื่อง ‘ปกติ’” ทั้งนี้ “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ได้พิจารณาว่า พรรคการเมืองมีสถานะ
เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนทั้งสิ้น จากข้อความที่ว่า “เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี หรือฝรั่งเศส พรรคการเมืองทั้งหลายต่างมีสถานะเป็นเพียงนิติ
7
บุคคลตามกฎหมายเอกชนทั้งสิ้น”
แต่ถ้าผู้อ่านและรวมทั้ง “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ได้ย้อนกลับไปอ่านพัฒนาการ
ของกฎหมายพรรคการเมืองในต่างประเทศที่ผู้วิจัยได้นำเสนอไปข้างต้น จะพบว่า แม้ว่า พรรคการเมืองใน
5 35 คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงการณ์วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
https://prachatai.com/journal/2020/02/86498
6 35 คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงการณ์วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
https://prachatai.com/journal/2020/02/86498
7 35 คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงการณ์วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563
https://prachatai.com/journal/2020/02/86498
14