Page 11 - kpiebook64015
P. 11

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 35 ท่าน”     มีข้อสังเกตและความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยและการให้เหตุผลของศาล
                                               2
              รัฐธรรมนูญว่า
                     “พรรคการเมืองไม่ใช่นิติบุคคลที่ใช้อำนาจมหาชน จึงสามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายให้อำนาจ

              โดยให้เหตุผลในทางวิชาการว่า การพิจารณาว่าองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นนิติบุคคลที่ใช้อำนาจมหาชน (นิติบุคคล

              มหาชน) หรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ 3 ประการ ได้แก่
                     1. พิจารณาจากกฎหมายที่จัดตั้งนิติบุคคลนั้นว่าจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมหาชน ซึ่งได้แก่ พระราชบัญญัติ

              หรือพระราชกฤษฎีกาหรือไม่

                     2. พิจารณาจากอำนาจที่องค์กรนั้นใช้ว่าองค์กรนั้นใช้อำนาจมหาชนในลักษณะที่มีอำนาจเหนือ หรือ
              อำนาจฝ่ายเดียวหรือไม่ และ

                     3. พิจารณาจากกิจกรรมที่นิติบุคคลนั้นดำเนินการว่ากิจกรรมที่ทำเป็นเรื่องการจัดทำบริการสาธารณะ
              หรือไม่ โดยที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะเป็นนิติบุคคลที่ใช้อำนาจมหาชนได้นั้นจะต้องเข้าองค์ประกอบครบถ้วนทั้งสาม

              ประการ

                     เมื่อพิจารณาลักษณะพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.
              2560 ตามองค์ประกอบ 3 ประการข้างต้นจะพบว่า

                     ประการแรก กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้พรรคการเมืองสามารถใช้อำนาจมหาชน หรือ ใช้อำนาจรัฐในลักษณะ
              ที่มีอำนาจเหนือ หรือ อำนาจฝ่ายเดียวแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว กลับมีเนื้อหาเป็น

              การควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเพียงเท่านั้น

              ในทำนองเดียวกันกับพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ที่ควบคุมการดำเนินการของบริษัทมหาชน
              พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดไม่ได้ให้อำนาจมหาชน หรือ อำนาจรัฐแก่บริษัทมหาชนแต่อย่างใด

                     ประการที่สอง เมื่อพิจารณาถึงหลักการทั่วไปของการจัดตั้งพรรคการเมือง ก็จะพบว่าพรรคการเมือง

              ทั้งหลายไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ หรือ อำนาจมหาชนโดยตรง หากแต่ทำหน้าที่เพียงรวบรวมและ
              ก่อตั้งเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เพื่อให้มีโอกาสในการเข้าไปใช้อำนาจรัฐ หรือ อำนาจมหาชนต่อไป

              เท่านั้น

                     และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบที่สามพบว่า พรรคการเมืองไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการ
              สาธารณะโดยตรง หากแต่เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่เสนอนโยบายและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อแสวงหาโอกาสใน

              การได้รับการเลือกตั้งเท่านั้น และเมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้ว ผู้ได้รับการเลือกตั้งจึงจะมีโอกาสเข้าไปใช้อำนาจในการ
              จัดทำบริการสาธารณะอีกทอดหนึ่ง




              2  35 คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   แถลงการณ์วันที่   24 กุมภาพันธ์ 2563
              https://prachatai.com/journal/2020/02/86498









                                                            11
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16