Page 7 - kpiebook64015
P. 7

จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากกลายเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองโดยตัวเองไม่เคยรู้ตัวมาก่อน

              ประชาชนอีกจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองกันคนละหลายพรรค โดยไม่ได้มีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกับ
              พรรคที่ตนเป็นสมาชิกซึ่งเป็นการสวนทางกับแนวทางที่ควรจะเป็นในการพัฒนาพรรคการเมืองที่มุ่งให้ประชาชนเห็น

              พ้องกับแนวทางของพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง แล้วจึงเข้าร่วมทำกิจกรรมกับพรรคการเมืองนั้น รวมถึงให้

              การสนับสนุนพรรคการเมืองนั้นในรูปแบบต่างๆ เช่น บริจาคเงินให้พรรค จ่ายเงินบำรุงพรรคในฐานะสมาชิกพรรค
              เป็นต้น การได้ชื่อของประชาชนเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคแต่เพียงในนามจำนวนมากๆ โดยไม่มีอุดมการณ์ร่วมกัน ไม่มี

              ความผูกพันใกล้ชิดกัน ไม่มีการทำกิจกรรมร่วมกันจึงขัดต่อเจตนารมณ์ในการพัฒนาพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง (ปรีชา

              หงส์ไกรเลิศ และคณะ, 2549) นอกจากนี้ การใช้จำนวนสาขาพรรคเป็นเกณฑ์ในการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรค
              การเมืองก็ก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติตามมาในทำนองเดียวกัน กล่าวคือ เกณฑ์ดังกล่าวทำให้เกิดการจัดตั้งสาขา

              พรรคโดยที่มิได้มีสมาชิกพรรคเป็นฐานรองรับและมิได้มุ่งทำกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่ให้แก่พรรคอย่างแท้จริง
              ตรงข้ามสาขาพรรคที่ตั้งขึ้นกลับถูกใช้เป็นฐานสำหรับนำไปคำนวณเพื่อเพิ่มจำนวนเงินสนับสนุนที่จะได้รับจากรัฐแต่

              ประการเดียว (ปรีชา หงส์ไกรเลิศ และคณะ, 2549) การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินแก่พรรคการเมือง

              โดยการลดสัดส่วนการจัดสรรผ่านเกณฑ์จำนวนสมาชิกและจำนวนสาขาพรรค จึงเป็นความพยายามปิดช่องทาง
              สำหรับคนบางกลุ่มที่รู้ถึงหลักเกณฑ์เหล่านี้มิให้สามารถแสวงหาประโยชน์ จนอาจกล่าวได้ว่าการตั้งพรรคการเมืองได้

              กลายเป็นอาชีพใหม่ของคนบางกลุ่มในการกอบโกยรายได้จากกองทุนเพื่อการพัฒนาทางการเมืองแทนที่เงินของ
              กองทุนซึ่งมาจากเงินภาษีของประชาชนจะถูกนำไปใช้พัฒนาระบบพรรคการเมือง

                     อย่างไรก็ตาม การใช้เกณฑ์จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมือง ก่อให้เกิดปัญหาและข้อ

              วิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ตามมาทั้งในแง่ของข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน กล่าวคือ การใช้จำนวน
              สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นเกณฑ์ ในการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองที่มี

              สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เปรียบพรรคการเมืองที่ไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงสองชั้นกล่าวคือ นอกจากจะ

              ได้เปรียบในระบบการเลือกตั้งทั้งจากเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีรายชื่อ เพราะคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่แพ้
              การเลือกตั้งจากเขตเลือกตั้งจะต้องสูญเปล่าไปอยู่แล้ว และคะแนนจากบัญชีรายชื่อของพรรคที่ได้รวมกันทั้งประเทศ

              ไม่ถึง ร้อยละ 5 ก็จะถูกตัดทิ้งไปทำให้พรรคที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวได้ประโยชน์ไปชั้นหนึ่งแล้ว เช่นเดียวกัน การใช้

              จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นฐานในการคำนวณเงินสนับสนุนพรรคการเมือง จึงเท่ากับเป็นการให้ประโยชน์
              สองต่อแก่พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง แต่เกณฑ์ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งฉบับแก้ไขเพิ่มเติมกลับ

              ให้น้ำหนักแก่สัดส่วนข้อนี้มากที่สุด (บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, 2555) จากปัญหาและข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์
              และวิธีการ ในการจัดสรรเงินสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ ที่ใช้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

              พุทธศักราช 2540 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ทำให้เกิดความ
              เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในการสนับสนุนพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

              2550 ในสาระสำคัญ กล่าวคือ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 65

              ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมืองนั้น มิได้มีการกล่าวถึงการสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมือง แต่ตาม








                                                             7
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12