Page 10 - kpiebook64015
P. 10

การเมืองตามสัดส่วนที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับการจัดสรรตามอัตราส่วนเงินบริจาคทั้งหมดตามมาตรา 69 ต่อ

              เงินที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ
                     (4) ร้อยละ 20 ของวงเงินจัดสรรนอกจาก (1) ให้จัดสรรตามจำนวนสาขาพรรคการเมืองโดยแต่ละพรรค

              การเมืองให้ได้รับตามอัตราส่วนระหว่างจำนวนสาขาพรรคการเมืองของทุกพรรคการเมืองรวมกันในปีที่ผ่านมาต่อ

              จำนวนสาขาพรรคการเมืองของพรรคการเมืองนั้น ๆ ในปีที่ผ่านมา
                     จากที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 จนถึงพระราชบัญญัติพรรค

              การเมือง พ.ศ. 2560 หลักการสำคัญประการหนึ่งที่ยังไว้และมีพัฒนาการตลอดมาคือ “การให้สนับสนุนทางการเงิน

              และประโยชน์อย่างอื่นจากรัฐแก่พรรคการเมืองเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้พรรคการเมืองลดการพึ่งพาทางด้านการเงิน
              จากเอกชนซึ่งอาจก่อผลร้ายต่อผลประโยชน์ส่วนรวมหากพรรคการเมืองนั้นๆ ต้องดำเนินนโยบายทางการเมืองหรือ

              เศรษฐกิจเพื่อเอื้อประโยชน์แก่เอกชนผู้เป็นนายทุนเหล่านั้นในลักษณะของการตอบแทนบุญคุณ” ที่ปรากฏเป็น
              รูปธรรมของการมีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง  ซึ่งกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรค

              การเมืองเพื่อมุ่งหวังให้เกิด “ความเป็นอิสระของพรรคการเมือง”  ซึ่งไม่ต่างจากหลักการสำคัญของพัฒนาการ

              กฎหมายพรรคการเมืองในต่างประเทศที่ผู้วิจัยได้กล่าวไปข้างต้น นั่นคือ การขจัดการทุจริตและการรวมศูนย์อำนาจ
              ในการเมืองภายในพรรคการเมือง (corruption and centralization in party politics)

                     ดังนั้น ในการวิเคราะห์ตีความกรณีการกู้ยืมเงินหัวหน้าพรรคของพรรคอนาคตใหม่ ผู้วิจัยจะวิกระทำภายใต้
              เจตนารมณ์ของกฎหมายพรรคการเมืองที่ว่าด้วยกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองที่เริ่มมาตั้งแต่พระราชบัญญัติ

              พรรคการเมือง พ.ศ. 2541 จนถึงพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2561 และหากจะมีผู้ไม่เห็นด้วยในการ

              พิจารณาโดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่เริ่มต้นมาตั้งแต่พระราช บัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2541  โดยเน้น
              ไปที่การตีความอย่างเฉพาะและจำกัดแคบไปที่เพียงตัวบทลายลักษณ์อักษรของพระราชบัญญัติพรรคการเมืองที่ไม่มี

              ฉบับใดเลยกล่าวถึงการกู้ยืมเงินของพรรคการเมือง  ผู้วิจัยเห็นว่า ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะตีความเช่นนั้นได้ แต่

              คำถามคือ จะตีความตามแนวทางนั้นไปเพื่ออะไร ? หากการตีความเช่นนั้นไม่ได้ช่วยนำไปสู่การขจัดการทุจริตและ
              การรวมศูนย์อำนาจในการเมืองภายในพรรคการเมือง (corruption and centralization in party politics) ซึ่ง

              เป็นหลักการสำคัญในทางการเมือง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางรัฐศาสตร์ ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

              ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ไม่มีบทบัญญัติใดๆกล่าวถึงการกู้ยืมเงินของพรรคการเมืองไว้  ขณะเดียวกัน  ใน
              การวินิจฉัยตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีข้อถกเถียงเกิดขึ้นเกี่ยวกับสถานะของพรรคการเมือง

              ว่า พรรคการเมืองไทยมีสถานะไม่ต่างจากกลุ่มสมาคมเอกชนทั่วไปจึงอยู่ภายใต้สถานะของนิติบุคคลเอกชน  หรือ
              พรรคการเมืองไม่อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยสมาคม แต่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติพรรคการเมืองตั้งแต่

              ฉบับ พ.ศ. 2511, 2517, 2524, 2541, 2550 และ 2560   มีพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 เท่านั้นที่
              “มิได้กำหนดให้พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคล และแม้ว่าจะไม่เป็นนิติบุคคล แต่พระราชบัญญัติก็ให้พรรคการเมือง

              ‘สามารถเป็นโจทย์หรือจำเลยทางแพ่งในศาลได้ในนามของพรรคการเมืองเองโดยมีหัวหน้าพรรคเป็นผู้ดำเนินการ

              แทน’   ได้” ต่อข้อถกเถียงในเรื่องสถานะนิติบุคคลของพรรคการเมือง “คณาจารย์ของคณะนิติศาสตร์








                                                            10
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15