Page 15 - kpiebook64015
P. 15

ต่างประเทศเหล่านั้นจะมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน แต่ก็ไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการสมาคม

              เอกชนทั่วไป  และจุดมุ่งหมายของการออกกฎหมายเกี่ยวกับพรรคการเมืองหรือพรรคการเมืองของประเทศต่างๆ
              เหล่านั้น นอกจากจะควบคุมการจดทะเบียนพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและเป็นธรรมต่อพรรค

              การเมืองด้วยกันแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมด้านการเงินของพรรคการเมืองด้วย ทำให้พรรคการเมืองไม่

              สามารถทำธุรกรรมเหมือนกับองค์กรนิติบุคคลเอกชนทั่วไปโดยปราศจากเงื่อนไขเฉพาะสำหรับพรรคการเมือง ดังที่
              ผู้วิจัยจะได้กล่าวซ้ำอีกในส่วนต่อไป

                     อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหตุผลข้อโต้แย้งของ “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” จะชี้ว่า

              พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ไม่ได้ให้ “พรรคการเมืองสามารถใช้อำนาจมหาชน หรือ ใช้อำนาจรัฐใน
              ลักษณะที่มีอำนาจเหนือ หรือ อำนาจฝ่ายเดียว” และไม่ได้บัญญัติให้ “พรรคการเมืองทั้งหลายมีอำนาจหน้าที่ในการ

              ใช้อำนาจรัฐ หรือ อำนาจมหาชนโดยตรง” และก็ไม่ได้บัญญัติให้ “พรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการ
              สาธารณะโดยตรง”   แต่ผู้วิจัยเห็นว่า เป้าหมายของพรรคการเมืองคือ “ทำหน้าที่เสนอนโยบายและดำเนินกิจกรรม

              ทางการเมืองเพื่อแสวงหาโอกาสในการได้รับการเลือกตั้งเท่านั้น และเมื่อได้รับการเลือกตั้งแล้ว ผู้ได้รับการเลือกตั้งจึง

              จะมีโอกาสเข้าไปใช้อำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะอีกทอดหนึ่ง”
                     นั่นคือ หากพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งและสามารถจัดตั้งรัฐบาลหรือร่วมรัฐบาลแล้ว ก็จะมีสถานะที่มีสิทธิ์

              ในการใช้ “อำนาจมหาชน หรือ ใช้อำนาจรัฐในลักษณะที่มีอำนาจเหนือ หรือ อำนาจฝ่ายเดียว” และ “มีอำนาจ
              หน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ หรือ อำนาจมหาชนโดยตรง” และ “มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำบริการสาธารณะโดยตรง”

                     คำถามคือ เมื่อพรรคการเมืองหนึ่งพรรคใดได้เป็นรัฐบาล การกู้เงินของพรรคการเมืองนั้นถึงจะเข้าข่ายอยู่

              ภายใต้การควบคุมทางการเงินหรือ ? ผู้วิจัยเห็นว่า การแยกสถานะของพรรคการเมืองว่าเป็นองค์กรเอกชน (private)
              หรือองค์กรมหาชน (public) ในทางการเมืองนั้นเป็นเรื่องที่แยกออกได้ยาก ดังที่ผู้วิจัยจะได้กล่าวในส่วนต่อไป

                     อีกทั้งประเด็นที่ “คณาจารย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ไม่ได้กล่าวถึงในแถลงการณ์เลยคือ การ

              ที่พรรคอนาคตใหม่กู้เงินหัวหน้าพรรคตัวเอง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของคดี และในทางหลักรัฐศาสตร์และเป้าหมาย
              ของการออกกฎหมายพรรคการเมืองก็คือ การป้องกันการทุจริตและการรวมศูนย์อำนาจในการเมืองภายในพรรค

              การเมือง (corruption and centralization in party politics)  และผู้วิจัยจะได้กล่าววิเคราะห์ถึงข้อเสียของการ
                                                                   8
              ให้พรรคการเมืองสามารถกู้เงินหัวหน้าพรรคการเมืองได้ส่วนต่อไป


              8  “The basic pattern that has emerged in all of these democracies (Australia, Canada, New Zealand, the United

                   Kingdom and the United States) over the last century is an increasing trend towards the regulation of
                   parties’   activities, particularly with respect to their financial affairs and, to a lesser extent, how they
                   make  ‘ important’   internal  decisions,  such  as  choosing  candidates  for  public  offices.  In  part,  this

                   regulation has been driven by a desire to eliminate corruption and centralization in party politics, and
                   create a fair and equal playing fields for all electoral participants.”  Anika Gauja,  Political Parties and
                   Elections: legislating for representative democracy. (London:  Routledge, 2010), p. 205.







                                                            15
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20