Page 19 - kpiebook64015
P. 19
จากการสำรวจวรรณกรรมที่ศึกษาเกี่ยวกับการออกกฎหมายควบคุมการพรรคการเมืองที่มีมาก่อนหน้า ค.ศ.
2010 Gauja พบว่า แม้จะมีงานเขียนจำนวนมากให้ความสนใจประเด็นเรื่องพรรคการเมือง การเลือกตั้ง และ
ระบบเลือกตั้ง แต่มีน้อยมากที่ให้ความสนใจต่อมาตรการทางกฎหมายในควบคุมพรรคการเมืองในระบอบเสรี
14
ประชาธิปไตย ดังในงานของ Vernon Bogdanor ในปี ค.ศ. 2004 ที่กล่าวว่า การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือใน
การรับรองสถานะของพรรคการเมืองในประเทศเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นช้ามาก เนื่องจากบรรดานักกฎหมายและ
นักวิชาการด้านกฎหมายมหาชนมิได้ตระหนักความสำคัญของพรรคการเมืองที่เป็นแกนกลางและปัจจัยสำคัญ
15
ในการจัดวางกลไกของระบอบการเมือง (เน้นโดยผู้วิจัย) เพราะก่อนหน้าที่จะมีการออกกฎหมายเกี่ยวกับพรรค
การเมืองอย่างเป็นกิจจะลักษณะเมื่อไม่นานมานี้ สถานะของพรรคการเมืองในประเทศเสรีประชาธิปไตยที่ปกครอง
โดยใช้กฎหมายจารีตประเพณีอย่างประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์ แทบจะไม่
แตกต่างไปจากสมาคมอย่างหนึ่ง (Voluntary association) พรรคการเมืองในประเทศเหล่านี้จึงไม่ได้มีความ
16
แตกต่างจากสมาคมกีฬาหรือสมาคมทางสังคมอื่น ๆ หรือที่ Jean Blondel อธิบายในปี ค.ศ. 1963 ว่า พรรค
การเมืองคือสมาคมเอกชนที่กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือหน้าที่ใดใดที่ทำให้แตกต่างไปจากสมาคมหรือองค์กรเอกชน
อื่น ๆ ส่งผลให้มาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่จะเกิดกฎหมายพรรคการเมือง (หากมี)
17
14 I. van Biezen, “Party Regulation and Constitutionalization: A Comparative Overview” in Political Parties and
democracy in conflict-prone societies: regulation, engineering and democratic development, eds. P. Nordlund,
and B. Reilley (Tokyo: UN University Press, 2008); L. Karvonen, “ Legislation on political parties: a global
comparison,” Party Politics 13, no. 4 (2007): 436-55; A. Gauja, “state regulation and the internal organisation of
Political Parties: the impact of Party law in australia, canada, new Zealand and the United kingdom,”
Commonwealth and Comparative Politics 46, no. 2 (2008): 244–61; K. Janda, “adopting Party law,” in Political
Parties and democracy in theoretical and Practical Perspectives (Washington: national democratic institute for
international affairs, 2005); K. Casas-Zamora, Paying for Democracy: Political Finance and State Funding for
Parties (Colchester: ECPR Press, 2005); G. Johns. “Party democracy: an audit of australian Parties,” Australian
Journal of Political Science 35 (1999): 401–25; W. Muller and U. Sieberer, “Party law,W in Handbook of Party
Politics, eds. R. Katz and W. Crotty (London: Sage, 2006); S. Issacharoff, “ Introduction: the structures of
democratic Politics,” Columbia Law Review, 100, no. 3 (2000): 593–7.
15 Vernon Bogdanor, “The constitution and the Party system in the twentieth century,” Parliamentary Affairs
57, no. 4 (2004): 718.
16 อันได้แก่ สมาคมทั่วไป ที่ผู้คนจำนวนหนึ่งมารวมตัวกันโดยสมัครใจ เพื่อดำเนินกิจกรรมโดยมีเป้าหมายที่จะต้องบรรลุร่วมกัน
17 Jean Blondel, Voters, Parties and Leaders: The Social Fabric of British Politics (Harmondsworth: Penguin,
1963), 87.
19