Page 5 - kpiebook64015
P. 5

บทที่ 2


                    กฎหมายพรรคการเมืองและการควบคุมการเงินของพรรคการเมืองในปัจจุบันของไทย



                     ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่เป็นผลจากการปฏิรูปทางการเมือง
              ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่มุ่งหวังให้การเมืองไทยมีความเป็นประชาธิปไตย มีการเลือกตั้งที่สุจริต เสรี

              และเป็นธรรม ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคและมีรัฐบาลที่มีเสถียรภาพและการตรวจสอบถ่วงดุลที่มี
              ประสิทธิภาพ  โดยหนึ่งในบทบัญญัติที่เป็นปัจจัยสนับสนุนจุดมุ่งหมายดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้จริงเป็นรูปธรรมก็คือ การ

              จัดให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ที่กำหนดในรายละเอียดในพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2541

              เป็นต้นมา โดยกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองของประเทศไทยเกิดขึ้นจากแนวคิดที่เชื่อว่า “การให้สนับสนุน
              ทางการเงินและประโยชน์อย่างอื่นจากรัฐแก่พรรคการเมืองเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้พรรคการเมืองลดการพึ่งพา

              ทางด้านการเงินจากเอกชนซึ่งอาจก่อผลร้ายต่อผลประโยชน์ส่วนรวมหากพรรคการเมืองนั้นๆ

              ต้องดำเนินนโยบายทางการเมืองหรือเศรษฐกิจเพื่อเอื้อประโยชน์แก่เอกชนผู้เป็นนายทุนเหล่านั้นในลักษณะของ
                                1
              การตอบแทนบุญคุณ
                     อย่างไรก็ตาม กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองของไทยมิได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
              แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยตรง เพียงแต่ได้มีการกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ

              มาตรา 328 (5) ว่า “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการสนับสนุน

              ทางการเงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่พรรคการเมือง” เท่านั้น ส่วนการกำหนดให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรค
              การเมืองขึ้นมานั้น ปรากฏในมาตรา 56 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541

              และมาตรา 58 ที่บัญญัติว่า การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสรรเงินแก่พรรค
              การเมือง ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการตามมาตรา 57 แต่ในการจัดสรรนั้น คณะกรรมการฯ จะต้องคำนึงถึง (1)



              1  โดยข้อเสนอที่นำไปสู่การมีบทบัญญัติของกฎหมายในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองนั้นปรากฏชัดเจนเป็นครั้ง

              แรกๆ  ในรายงานวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนทางการเงินและผลประโยชน์อย่างอื่นจากรัฐ
              และเอกชนแก่พรรคการเมืองและสมาชิกพรรคการเมือง” ของวิษณุ วรัญญู และคณะ (2537: 196-197) ภายใต้การสนับสนุนของ
              คณะอนุกรรมการกฎหมายการเมือง สำนักงานกฤษฎีกา  และในเวลาต่อมา บุญศรี มีวงษ์อุโฆษ (2538: 75) หนึ่งในคณะผู้วิจัยได้เน้น
              ย้ำถึงความสำคัญของข้อเสนอนี้อีกครั้งในรายงานวิจัยของเขาเรื่อง "การปรับปรุงระบบพรรคการเมืองไทย” ซึ่งเป็นหนึ่งในรายงาน

              วิจัยภายใต้ชุดโครงการของคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ารายงานวิจัยในชุดโครงการนี้เป็นฐานคิด
              ทางวิชาการที่รองรับการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (ดู ธนาพล อิ๋วสกุล, 2560) ดังนั้น หากพิจารณา
              จากงานวิจัยของวิษณุ วรัญญู และคณะ (2537) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเสนอให้รัฐสนับสนุนทางการเงินและประโยชน์อย่างอื่น

              แก่พรรคการเมืองโดยตรงแล้ว การก่อตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองขึ้นมาในประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลจากแนวทางการ
              สนับสนุนพรรคการเมืองที่ดำเนินการในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งเป็นสองจากห้าประเทศ (อีกสามประเทศ ได้แก่ สหราช
              อาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น) ที่งานวิจัยของวิษณุ วรัญญู และคณะ (2537) ใช้เป็นกรณีศึกษาเปรียบเทียบที่มีการจัดสรรเงิน
              แผ่นดินและให้ประโยชน์อื่นแก่พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งในช่วงเวลานั้น






                                                             5
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10