Page 46 - kpiebook64011
P. 46

ทางการเมืองในท้องถิ่นสามารถสถาปนาอ านาจและการจัดองค์กรของชนชั้นน าเหล่านั้นภายใต้โครงสร้าง
               อ านาจท้องถิ่น โดยใช้วิธีศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์แบบวิภาษวิธี


                       ข้อค้นพบของโอฬาร ถิ่นบางเตียว (2553) คือ กลุ่มชนชั้นน าทางการเมืองและโครงสร้างอ านาจในภาค
               ตะวันออกมีอยู่สี่แบบใหญ่


                       แบบที่หนึ่ง โครงสร้างอ านาจท้องถิ่นแบบขั้วอ านาจเดียว (บ้านใหญ่) คือมีการกระจุกตัวของอ านาจ
               ทางการเมืองในตระกูลใหญ่เพียงตระกูลเดียว ที่ผูกขาดอ านาจทั้งในระดับจังหวัดและระดับชุมชนท้องถิ่น

               เพราะตระกูลดังกล่าวมีความเข้มแข็งผ่านการสะสมทุนอย่างยาวนานจนมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเหนือกว่า
               ตระกูลอื่น เป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ และมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับข้าราชการภายในจังหวัดจนกลายเป็นผู้มี
               บารมีและทรงอิทธิพลทางสังคมและการเมืองจนผูกขาดอ านาจทางการเมืองได้อย่างเบ็ดเสร็จในจังหวัดโดย
               ปราศจากคู่แข่งทางการเมือง อาทิ คุณปลื้ม ของชลบุรี และเทียนทอง ของสระแก้ว บ้านใหญ่มีการกระจาย

               ผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องและมีการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างทั่วถึงในกลุ่ม
               เครือข่ายทางการเมือง มีความพยายามรักษาอ านาจของตระกูลด้วยการสืบทอดอ านาจไปยังคนในตระกูล เช่น
               บุตร หลาน เครือญาติ รวมทั้งเครือข่ายทางการเมืองที่ใกล้ชิดและจงรักภักดีด้วยการสนับสนุนให้เข้าสู่อ านาจ
               การเมืองในระดับจังหวัดอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเวทีในการกระจาย

               ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมือง และมีกลไกอุปถัมภ์ที่เข้มแข็งกับประชาชนทั่วไป


                       แบบที่สอง โครงสร้างอ านาจท้องถิ่นแบบสองขั้วอ านาจ คือมีสองตระกูลหรือชนชั้นน าสองกลุ่ม สอง
               ขั้วอ านาจ ต่อสู้เพื่อเข้าสู่อ านาจทางการเมืองในจังหวัด และมีการแข่งขันกันของสองกลุ่ม/ตระกูลในทุก ๆ เวที
               ทั้งคนในตระกูลหรือเครือญาติ ต่างฝ่ายต่างมีฐานเศรษฐกิจการเมืองที่เข้มแข็ง ตัวอย่างโครงสร้างอ านาจ
               ท้องถิ่นแบบสองขั้วอ านาจคือ ฉะเชิงเทรากับนครนายก


                       แบบที่สาม โครงสร้างอ านาจท้องถิ่นแบบสามขั้วอ านาจ มีลักษณะไม่ต่างจากแบบสองขั้วอ านาจ แต่มี
               ตระกูลที่สามมาแข่งด้วย อาทิ ระยองและปราจีนบุรี แต่ในแบบสามขั้วอาจจะไม่เผชิญหน้าโดยตรง อาจจะมี
               การสนับสนุนทรัพยากรอยู่เบื้องหลัง โดยมีเป้าหมายหลักในการยึดกุมและขยายเขตอิทธิพลพื้นที่การเมืองของ

               จังหวัดไว้ในก ามือของเครือข่ายตระกูลมากที่สุด ในอีกด้านหนึ่งการศึกษาของโอฬาร ถิ่นบางเตียวพบว่า
               โครงสร้างอ านาจสามขั้วยังมีการประนีประนอม ต่อรองทางการเมืองระหว่างตระกูลชนชั้นน าทางการเมือง
               ภายในจังหวัด และมีการแบ่งสรรพื้นที่ทางการเมืองตามเขตอิทธิพลของแต่ละตระกูล หรือกล่าวอีกอย่างว่า มี

               ทั้งที่ประนีประนอมพื้นที่ หรือมีทั้งที่ต่อสู้ขับเคี่ยวกันอย่างยาวนาน

                       แบบที่สี่ โครงสร้างอ านาจท้องถิ่นแบบไม่มีขั้วอ านาจที่ชัดเจน ในแง่ของการที่ไม่สามารถควบคุมและ

               ครอบง าอ านาจทางการเมืองภายในจังหวัดได้อย่างเบ็ดเสร็จ เนื่องจากแต่ละกลุ่มการเมืองยังมีข้อจ ากัดในการ
               สะสมทุนทางเศรษฐกิจการเมือง การสะสมทุนทางสังคม เครือข่ายอุปถัมภ์ และเครือข่ายทางการเมืองยังไม่มี
               เอกภาพเพียงพอ และมีความเข้มแข็งไม่พอที่จะสถาปนาเป็นขั้วอ านาจที่มีอิทธิพลทางการเมืองภายในจังหวัด
               ได้ ดังนั้นจึงมีลักษณะการจับมือเป็นพันธมิตรชั่วคราวในลักษณะของกลุ่มอ านาจทางยุทธศาสตร์ (strategic

               power group) ตัวอย่างเช่น ตราดและจันทบุรี

                       เราไม่สามารถชี้ชัดว่างานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ หรืองานของโอฬาร ถิ่นบางเตียวนั้นสะท้อนภาพความ

               เป็นจริงได้มากกว่ากัน เนื่องจากใช้กรณีศึกษาที่ต่างกัน งานของเวียงรัฐ เนติโพธิ์ดูจะมีข้อค้นพบและความเชื่อ




                          โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ   28
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51