Page 41 - kpiebook64011
P. 41
ปัญหาด้านอ านาจหน้าที่ พิจารณาการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด จะก าหนดหน้าที่ไว้อย่าง
ชัดเจนในกฎหมายและมีอยู่ในอ านาจหน้าที่ หากในความเป็นจริง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ
กลับมีอ านาจหน้าที่และการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นของตนเองน้อย เนื่องจากมีหน้าที่
ซ้ าซ้อนกับราชการส่วนภูมิภาค ประกอบกับบทบัญญัติที่ให้อ านาจหน้าที่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ
มักจะบัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายอื่น เช่น การให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอ านาจหน้าที่บ ารุง
ทางบก ทางน้ า แต่ในทางปฏิบัติ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท หรือกรมโยธาธิการและผังเมือง ยังคงท า
หน้าที่ดังกล่าวอยู่ หรือการจัดการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการก็ยังท าหน้าที่หลักอยู่ และยิ่งกว่านั้น การดูแล
ทางน้ าเป็นหน้าที่ของกรมขนส่งทางน้ า โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีอ านาจหน้าที่แต่อย่างใด
ปัญหาด้านการคลัง หรือปัญหาเรื่องรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการขณะนั้น
พบว่า เงินอุดหนุนจากรัฐบาล และเงินภาษีต่าง ๆ ที่ได้รับ ถึงแม้ว่าจะดูมีมาก เพราะใช้การใช้จ านวนประชากร
เป็นเกณฑ์ แต่จ านวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ท าให้งบประมาณด้านการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมุทรปราการไม่เพียงพอต่อการให้บริการสาธารณธะแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัญหา
ด้านข้อระเบียบ กฎหมาย หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้องก็เป็นอุปสรรคอย่างมาก เช่น การอนุมัติระเบียบการคลัง
งบประมาณ มีหลายขั้นตอน ท าให้ล่าช้า บางครั้งมีหนังสือสั่งการเพื่อซักซ้อมความเข้าใจในแนวปฏิบัติแต่ท าให้
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเกิดความสับสนกับแนวทางการด าเนินงานเกี่ยวกับการกระจายอ านาจทางการเงินการคลังได้
ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล การถ่ายโอนบุคลากรส่วนใหญ่ที่ประสงค์จะถ่ายโอนไปองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการโอนมาปฏิบัติหน้าที่ตามต าแหน่งเดิมที่เคยท าเมื่อครั้งสังกัดกับ
ส่วนราชการเดิม หากมีปัญหาว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการมีความประสงค์อยากที่จะเลือก
บุคลากรที่จะถ่ายโอนเอง แต่ราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไม่อนุมัติ จึงก่อให้เกิดปัญหาข้าราชการที่จะ
โอนมาปฏิบัติงาน ไม่ตรงกับความต้องการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเองอย่างแท้จริง
ปัญหาด้านการก ากับดูแล ส าหรับการก ากับดูแล การสนับสนุน การให้ค าปรึกษา และการให้ความ
ช่วยเหลือ ในการถ่ายโอนภารกิจต่าง ๆ จากส่วนราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคยังขาดอยู่ โดยส่วนใหญ่
ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมักจะเข้าใจว่าเมื่อถ่ายโอนภารกิจและส่งมอบงานให้องค์การบริหารส่วน
จังหวัดแล้ว ก็จะหมดหน้าที่รับผิดชอบ ไม่มีการจัดฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับภารกิจการถ่ายโอน
ส่วนปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
อ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 17 (8) ก าหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมี
อ านาจหน้าที่ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น หากในทางปฏิบัติ ประชาชนส่วน
ใหญ่ยังไม่ทราบและไม่เข้าใจเกี่ยวกับการกระจายอ านาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการถ่ายโอนงาน
ให้ท้องถิ่นตามที่กฎหมายก าหนดเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง ท าให้ประชาชน
ไม่เห็นความส าคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมในองค์กรปกครองส่วนถิ่น โดยเฉพาะส่วนร่วมกับองค์การบริหารส่วน
จังหวัดนี้
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 23